การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำสัปดาห์นี้ (22-28 ม.ค. 2561) คาดว่า…
มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งอากาศที่เย็นลง ทำให้เสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โรคนี้พบได้ทุกวัย แต่ที่พบบ่อยคือในกลุ่มเด็กเล็ก
เช่นเดียวกับตอนนี้ที่ จังหวัดปาปัว ของอินโดนีเซีย ก็มีการแพร่ระบาดของโรคหัดทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะทำให้ประชาชนราว 100 คนที่สุขภาพไม่ดีเนื่องจากรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง และต้องเสียชีวิต ส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขในจังหวัดทางตะวันออกไกลของประเทศแห่งนี้
โดยนายมูฮัมหมัด ไอดี โฆษกทหารปาปัวกล่าวว่า… เด็กทารก 69 คนเสียชีวิตในเขตอัสมัต ขณะที่รายงานระบุว่า ประชาชน 27 คนเสียชีวิตในพื้นที่เขตภูเขาออคซิบิล และกล่าวว่า… โรคหัดไม่เป็นอันตราย แต่เนื่องจากเด็กมีสุขภาพไม่ดีจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง จึงไม่สามารถเอาชนะภาวะดังกล่าวได้
◊ ทำความรู้จักกับโรคหัด ◊
ในประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เราอาจจะคุ้นเคยแต่โรคไข้ออกผื่นชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคหัด ทำให้ไม่ทราบถึงความน่ากลัวของโรคนี้
โรคหัด (มีเซิลส์/measles หรือ รูบีโอลา/rubeola) เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่สามารถพบได้ในทุกวัย โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อีกทั้ง หัด ยังเป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ อาการแทรกซ้อนของโรคหัดนั้นมีตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง เช่น อาการท้องเสีย หูชั้นกลางอักเสบ ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบ อาการชักที่สามารถเกิดได้ทั้งแบบมีไข้และไม่มีไข้ ไข้สมองอักเสบและเสียชีวิต
กรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดและติดเชื้อไวรัสนั้นมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์และคลอดก่อนกำหนด โดยผู้เป็นแม่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของอายุครรภ์ ทั้งนี้ ทารกอาจจะมีน้ำหนักตัวเมื่อแรกคลอดน้อย
อ่านต่อ >> “อาการของโรคหัดพร้อมวิธีรักษาและป้องกันลูกน้อยจากโรคหัด” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่