นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำ รพ.สอยดาว จ.จันทบุรี กล่าวถึงโรคทางสายตาจากการเสพติดเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีซินโดรมว่า การเสพติดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต เป็นเหตุหนึ่งทำให้เกิดความเครียดและล้าของสายตาได้ อาการเตือนคือแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย เนื่องจากต้องเพ่งภาพหรือตัวอักษรขนาดเล็กที่อยู่ในจอ ทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
วิธีรักษาด้วยตัวเอง
1.ให้ลูกน้อยนอนหลับอย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง
2.ให้ลูกน้อยดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา
3.ประคบเย็น โดยใช้ผ้าขนหนูพับ 3 ส่วน แช่น้ำเย็น บิดหมาดๆ วางปิดตั้งแต่ขมับทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก ถ้าหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นอีกครั้ง ทำติดต่อกัน 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
4.ให้ลูกใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็นและปลอดภัย ประมาณ 25 นาที พัก 5 นาที หรือใช้ 30 นาที พัก 10 นาที
5.พาลูกไปเช็คดวงตาปีละหน ป้องกันอาการเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตา
6.ติดฟิล์มกันรอยที่มีคุณภาพดี และมีประสิทธิภาพในการถนอมสายตา ช่วยกรองแสงสีฟ้าออกจากหน้าจอ
7.บำรุงสายตาด้วยอาหารที่มีวิตามินเอ ซี อี เบต้าแคโรทีน และไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครอท, ผักบุ้ง, ตำลึง, ผักคะน้า, มะละกอ, มะม่วงสุก บำรุงและถนอมสายตาได้
อ่านเพิ่มเติม คลิก!! “จากแม่ถึงแม่: หยุดทีวี หยุดแท็บเลต ต้นเหตุลูกพูดช้า”
เครดิต: อ.พญ. แพร์ พงศาเจริญนนท์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอตาและวุ้นตา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, mahosot.com, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส