ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อันตรายกับลูกน้อยกว่าที่คิด - amarinbabyandkids
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อันตรายกับลูกน้อยกว่าที่คิด

Alternative Textaccount_circle
event
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ทำความรู้จักภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เกล็ดเลือด เป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่ให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก โดยจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดต้องปกติ เลือดเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ถ้ามีการฉีกขาดของหลอดเลือด ก็จะมีเลือดออก

ส่วนที่จะช่วยไม่ให้เลือดออกมากมี 4 สิ่ง คือ หลอดเลือด เกล็ดเลือด ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด และเนื้อเยื่อรอบๆ หลอดเลือด เริ่มจากเมื่อหลอดเลือดฉีกขาด หลอดเลือดจะทำการหดตัว หลังจากนั้นเกล็ดเลือดก็จะมาเกาะที่ผิวด้านในของหลอดเลือดที่เสียหาย เหมือนเอาก้อนหิน หรือถุงทรายมาทับตรงที่มีท่อรั่ว หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มายาเกร็ดเลือดที่เกาะกันไว้หลวมๆ ให้แน่นขึ้น ประกอบกับเนื้อเยื่อภายนอกหลอดเลือดที่แข็งแรง และทำให้เลือดหยุดไหลในที่สุด

เกล็ดเลือดนั้นสร้างในไขกระดูก และจะมีอายุอยู่ประมาณ 8 – 10 วัน เมื่อเกล็ดเลือดต่ำเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะมีอาการเลือดออก มักเกิดขึ้นที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดออกแดงๆ คล้ายยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป หรือเป็นจ้ำเลือดตื้นๆ บางคนอาจมีเลือดออกแถวเยื่อบุในปาก เหงือก บางคนมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายปนเลือด และเมื่อเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร เลือกจะออกได้เองโดยไม่มีบาดแผล

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำสาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

1.สร้างเกล็ดเลือดจากไขกระดูกได้น้อย เนื่องจากการใช้ยาบางชนิดที่ไปกดทับการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่น ยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือมีภาวะไขกระดูกฝ่อ โลหิตจาง ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย

2.เกล็ดเลือดถูกทำลาย เพราะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในเด็กอาจมีการติดเชื้อไวรัสมาก่อน หรือมีประวัติการฉีดวัคซีนบางชนิดมาก่อน ทำให้เกล็ดเลือดถูกบีบไปอยู่ที่ใดที่หนึ่งในร่างกายมากเกินไป

3.เกล็ดเลือดต่ำ เพราะมีน้ำในร่างกายมาก ซึ่งพบในคนที่ได้รับน้ำเกลือ หรือได้รับส่วนประกอบของเลือดในปริมาณมาก เช่น ได้รับเฉพาะเม็ดเลือดแดง หรือเฉพาะเม็ดเลือดขาว แต่ไม่ได้รับเกล็ดเลือดด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ? กับการป้องกัน และดูแล” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up