แม่ช็อก! ลูกบ่นปวดหัว แหวกเจอ เห็บเกาะหัว - Amarin Baby & Kids

แม่ช็อก! ลูกบ่นปวดหัว แหวกเจอ เห็บเกาะหัว

Alternative Textaccount_circle
event

แม่ช็อก! ลูกบ่นปวดหัว แหวกเจอ เห็บเกาะหัว

อาการปวดหัวมีมากมายหลายแบบ แต่ที่แปลกคือ ปวดหัวเพราะ เห็บเกาะหัว ค่ะคุณพ่อคุณแม่ ! ล่าสุดคุณแม่ท่านหนึ่งได้แชร์คลิปลูกเพื่อเตือนภัยที่ไม่คาดคิด เนื่องจากลูกชายบ่นว่าปวดหัว คุณแม่ก็ลองหาสาเหตุดู แต่แหวกไปแล้วกลับพบเรื่องที่ไม่คาดคิดมาก่อนค่ะ

เห็บเกาะหัว เป็นเหตุให้ลูกปวดหัว

คุณแม่ท่านหนึ่ง ถ่ายคลิปไว้ขณะกำลังแหวกกลุ่มผมบนศีรษะของลูกชาย แล้วแชร์คลิปเตือนภัย จนกลายเป็นคลิปไวรัลในโลกโซเชียล พร้อมระบุข้อความว่า เมื่อลูกปวดหัว อย่าชะล่าใจ คิดว่าลูกปวดหัวธรรมดา กินยาก็หาย แต่แล้วมันไม่ใช่ โดยสิ่งที่ปรากฏในคลิปวิดีโอ ขณะที่แม่กำลังแหวกผมลูกชายอยู่นั้น คือ เห็บตัวใหญ่ หลังจากที่คุณแม่เห็น ก็ไม่ได้มีท่าทีตกใจ หรือรีบจับออกแต่อย่างใด กลับค่อย ๆ หยดแอลกอฮอล์ลงไปในบริเวณที่ตัวเห็บเกาะอยู่ แล้วรอสักพัก จึงใช้แหนบคีบเห็บขึ้นมา

หลังจากที่คลิปดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาชม และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก จนมียอดเข้าชมกว่า 3 ล้านครั้ง

คุณแม่ยังได้อัปเดตเพิ่มเติมว่า ไม่ทราบสาเหตุเช่นกันว่าลูกชายนั้นได้เห็บมาจากไหน แต่คาดว่าอาจจะมากับลมหรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เจอ จึงมาแชร์คลิปเตือนภัย ให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตนเองด้วย

เห็บ เป็นอย่างไร ?

เห็บ เป็นปรสิตที่ใช้ปากกัดแล้วดูดเลือดสัตว์และมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งถูกพบมากกว่า 800 สายพันธุ์ทั่วโลก แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ เห็บอ่อน ซึ่งมีผนังลำตัวอ่อนย่นและนุ่ม และเห็บแข็ง ซึ่งมีลักษณะลำตัวเรียบและมีปากยื่นออกมาจากลำตัว ซึ่งเห็บแข็งเป็นสายพันธุ์ที่มักพบว่ากัดและดูดเลือดมนุษย์

นอกจากนี้ เห็บบางชนิดอาจเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ผ่านทางน้ำลาย เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) โรคไข้เห็บ (Ehrlichiosis) และโรคทูลาริเมีย (Tularemia) เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้ไม่ค่อยพบในประเทศไทย

เห็บเกาะหัว
แม่กำลังแหวกผม ไปเจอเห็บเกาะหัวลูกชาย

โดนเห็บกัดจะเป็นอย่างไร ?

โดยส่วนใหญ่ คนมักไม่รู้สึกตัวเมื่อถูกเห็บกัดในช่วงแรก เพราะจะไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคันผิวหนังเหมือนตอนถูกสัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างยุงหรือมดกัด อีกทั้งเห็บยังมีขนาดตัวที่เล็กมาก จึงทำให้สังเกตเห็นได้ยาก แต่เมื่อถูกกัดไปสักระยะหนึ่งแล้ว เห็บจะเริ่มขยายตัวจนทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น เพราะเห็บจะยังคงอยู่ในบริเวณผิวหนังที่กัด ไม่ได้หนีหายไปเหมือนสัตว์หรือแมลงอื่น ๆ และหากปล่อยไว้นานประมาณ 7-10 วัน จนดูดเลือดเต็มที่แล้ว เห็บก็จะเลิกดูดเลือดและหลุดออกไปเอง

โดยปกติ การถูกเห็บกัดนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีอาการใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่แพ้เห็บ อาจแสดงอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น มีอาการบวม หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ถูกกัด เป็นผื่น เป็นแผลพุพอง ในกรณีที่แพ้รุนแรงอาจหายใจติดขัด  เป็นต้น

เห็บบางชนิดอาจแพร่กระจายเชื้อโรคสู่มนุษย์ได้ทันทีที่กัด และโรคติดต่อจากเห็บอาจทำให้ผู้ป่วยปรากฏอาการต่าง ๆ แตกต่างกันไป โดยบางโรคอาจแสดงอาการหลังผ่านไป 2-3 วัน หรือนานเป็นสัปดาห์ตามแต่กรณี

อาการของโรคติดต่อจากเห็บ

อาการที่อาจปรากฏขึ้นเมื่อเกิดโรคติดต่อจากเห็บ มีดังนี้

  • มีจุดสีแดงหรือมีผื่นขึ้นใกล้กับบริเวณที่ถูกกัด
  • มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • คอเคล็ด
  • คลื่นไส้
  • อ่อนเพลีย
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

หากปรากฏอาการเหล่านี้ รวมทั้งมีอาการแพ้หลังถูกกัด หรือหลังจากดึงตัวเห็บออกแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

เห็บเกาะหัว
แม่ช็อก! ลูกบ่นปวดหัว แหวกเจอ เห็บเกาะหัว

วิธีกำจัดเห็บด้วยตนเอง

สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำเมื่อถูกเห็บกัด คือ กำจัดตัวเห็บออกไปทันทีที่พบ ตามวิธีดังต่อไปนี้

  • ก่อนนำตัวเห็บออก ควรฉีดพ่นยากันแมลงที่มีส่วนประกอบของสารไพรีทริน (Pyrethrin) หรือสารไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) ลงบนบริเวณที่ถูกกัด หรือทาครีมที่มีส่วนผสมของสารเพอร์เมทริน (Permethrin) รอบ ๆ บริเวณดังกล่าว เพื่อทำให้เห็บเป็นอัมพาตจนสามารถดึงออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ (Methylated Spirit) และน้ำมันก๊าด (Kerosene) เป็นต้น
  • หลังจากฉีดพ่นยาแล้ว ห้ามใช้เข็มหรือไม้สะกิดตัวเห็บเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ดึงเห็บออกมาได้ยากขึ้น แต่ให้ใช้แหนบดึงตัวเห็บด้วยความระมัดระวัง โดยดึงตัวเห็บในบริเวณที่ใกล้กับผิวหนังที่สุด ดึงออกมาด้วยแรงบีบและความเร็วคงที่ ไม่บิด กระชาก บีบ ขยี้ หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวที่อาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมาจากตัวเห็บ

วิธีป้องกันเห็บกัด

เพื่อป้องกันการถูกเห็บกัด ควรระมัดระวังเมื่อต้องเดินป่า ทำสวน หรือไปในบริเวณที่มีเห็บชุกชุม ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเดินผ่านพุ่มไม้หรือพงหญ้า
  • สวมเสื้อผ้าสีสว่าง เพื่อให้มองเห็นเห็บที่เกาะติดมากับเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น และเลือกสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด
  • ใช้ยากันแมลงที่ปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารดีอีอีที (DEET) ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือสารเพอร์เมทริน สารที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับป้องกันเห็บ เป็นต้น
  • หลังกลับจากเดินทาง หรือตอนอยู่ในบริเวณที่มีเห็บชุกชุม ให้หมั่นมองหาเห็บตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลังหู ศีรษะ และคอ
  • รีบถอดเสื้อและอาบน้ำทันที หลังกลับจากบริเวณที่มีเห็บชุกชุม และนำเสื้อผ้าไปใส่ในเครื่องอบผ้า หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผมลมร้อนประมาณ 20 นาที เพื่อฆ่าเห็บที่อาจติดมากับเสื้อผ้า
  • ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข หรือแมว ให้สะอาดปราศจากเห็บอยู่เสมอ หากพบเห็บให้รีบกำจัดเห็บออก ซึ่งอาจเลือกใช้ยากำจัดเห็บหมัดสำหรับสัตว์เลี้ยงได้

ขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยรัฐออนไลน์ , pobpad, TikTok 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เตือนภัย พยาธิปอดหนู ขึ้นตา ทำตาบอด

แม่เตือนภัย ลูก 2 คนป่วย ลำไส้อักเสบ พร้อมกัน! หลังกิน เยลลี่ลูกตา

แม่เตือนภัย!! ลูกชายเจอ “ตะขาบ” ในหลอดดูดน้ำหวาน!!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up