สธ.เคาะห้ามฉีดวัคซีนโควิดใน คนท้องและเด็กต่ำกว่า 18 ปี - Amarin Baby & Kids
vaccine-covid-19

สธ.เคาะ ห้ามฉีดวัคซีนโควิด ใน “คนท้อง” และ”เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี”

Alternative Textaccount_circle
event
vaccine-covid-19
vaccine-covid-19

หลังจากรอคอยกันมานาน วัคซีนโควิด-19 ก็คิดค้นสำเร็จ พร้อมจะนำมาใช้ป้องกันกับโรคร้ายแล้ว วันนี้ทีมแม่ ABK มาอัปเดตแผนการฉีดวัคซีน กลุ่มไหนจะได้ฉีดก่อน แล้วทำไมคนท้องถึงไม่สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้?

อัปเดตคิวฉีด “วัคซีนโควิด” คนท้อง และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ห้ามฉีด!!

ข่าว วัคซีนโควิด-19 ล่าสุด ทำให้คนไทยมีความหวัง เมื่อวัคซีนระยะแรก กำลังจะมาในเดือน กุมภาพันธ์ นี้แล้ว โดยนพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกแถลงแผนงานการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย โดยได้พิจารณาครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ ด้านนโยบาย และด้านการบริหารจัดการ

นพ.โอภาส กล่าวว่า แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

 

วัคซีนโควิด-19

Must Read >>  จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เผยการคัดเลือกวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19

แผนการฉีดวัคซีน ระยะที่ 1

ระยะแรก วัคซีนโควิด-19 มีจำนวนจำกัด 200,000 โดส

เริ่มฉีดใน เดือน กุมภาพันธ์ ในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สาธารณสุขด่านหน้า (รวมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) เจ้าหน้าที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น จ.สมุทรสาคร จ.ระยอง จ.ชลบุรี เป็นต้น จำนวน 20,000 คน
  • กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 180,000 คน ได้แก่
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน
    • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
    • เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น อสม. ทหาร ตำรวจ เป็นต้น ที่คัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาด

โดยเริ่มในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และตราด

บุคลากรทางการแพทย์

Must Read >> สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง!

แผนการฉีดวัคซีน ระยะที่ 2

ในเดือนมีนาคม 2564 เมื่อวัคซีนโควิด-19 มีมากขึ้น จะฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  • จำนวน 200,000 โดส ฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่สองในกลุ่มที่ 1
  • จำนวน 600,000 โดส ฉีดให้กลุ่มจังหวัดควบคุมสูงสุด ชายแดนตะวันตกและภาคใต้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า (รวมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) จำนวน 60,000 คน
  • กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนสูงและกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 540,000 คน

แผนการฉีดวัคซีน ระยะที่ 3

ตั้งแต่ มกราคม 2565 เป็นต้นไป วัคซีนจะมีเพียงพอ ให้กับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในชุมชน

ทั้งนี้การฉีดวัคซีน ต้องเป็นไปตามความสมัครใจ โดยยกเว้นการฉีดให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ยังมีมีการทดลองในกลุ่มนี้ จึงไม่มีผลการวิจัยรองรับ รวมถึงผลข้างเคียงของวัคซีนก็ยังไม่ปรากฏแน่ชัด

วัคซีนโควิด-19

เปรียบเทียบวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทชั้นนำ

หลังจากแต่ละประเทศคิดค้น วัคซีนโควิด-19 เพื่อนำออกมาช่วยต่อสู้กับโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีหลายประเทศคิดค้นสำเร็จแล้ว และมีประสิทธิผลและความถี่-ห่างในการฉีดแตกต่างกันไป ดังนี้

  • วัคซีนของไฟเซอร์ มีประสิทธิผล 95% โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน
  • วัคซีนของโมเดอร์นา มีประสิทธิผล 94.5% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
  • วัคซีนของแอสตราเซนเนกา มีประสิทธิผล 62-90% ขึ้นกับปริมาณการฉีด โดยฉีด 2 โดสห่างกัน 28 วัน
  • วัคซีนของรัสเซีย มีประสิทธิผล 92% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 14-21 วัน
  • วัคซีนของซิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิผล 79% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน
  • วัคซีนของซิโนแวค ประเทศจีน มีประสิทธิผล 78%

โดยวัคซีนทั้ง 5 ตัวได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศต้นทางแล้ว ส่วนวัคซีนซิโนแวคที่จะนำเข้ามาฉีดเป็นกรณีเร่งด่วน 200,000 โดสนั้น อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนที่ประเทศจีน

ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้กล่าวถึงผลค้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า

“จุดมุ่งหมายของวัคซีนคือ ป้องกันความรุนแรงของโรคที่มีทั้งสามารถป้องกันได้ไม่ติดเชื้อเลย หรือบางชนิดไม่ป้องกันติดเชื้อแต่ป้องกันการเป็นโรค เช่น วัคซีนคอตีบ และกลุ่มที่ไม่ป้องกันการติดเชื้อหรือเป็นโรค แต่ลดการนอนโรงพยาบาล (รพ.) ลดอัตราการตาย สำหรับวัคซีนโควิด-19 เป็นของใหม่ยังไม่สามารถตอบได้ว่า จะป้องกันได้มากแค่ไหน แต่เชื่อว่ามีจุดมุ่งหมายคือ ลดการนอน รพ. และอัตราการตาย”

“ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 มีอย่างน้อยฉีดแล้วเจ็บ แม้กระทั่งฉีดยาหลอกก็ยังเจ็บ และส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ มีบางส่วนเป็นไข้ ส่วนผลข้างเคียงรุนแรง ยกตัวอย่าง ประเทศแคนาดา ฉีดไปหลักล้านโดส ก็ทราบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การแพ้รุนแรง ขณะที่วัคซีนไฟเซอร์ระบุว่าโอกาสแพ้รุนแรง อาจอยู่ที่ 9 หรือ 10 ในล้านเข็ม ซึ่งเหมือนวัคซีนอื่นที่อาจแพ้ส่วนประกอบที่อยู่ในนั้น ดังนั้น หลังฉีดแล้วจะต้องนั่งสังเกตอาการใน รพ. อย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันการแพ้และให้แก้ไขทันท่วงที”

 

วัคซีนโควิด-19

Must Read >> สาวไทยรีวิวฉีด วัคซีนโควิด-19 ฟรีที่แคนาดา ผลข้างเคียงเป็นยังไง

นายแพทย์โอภาส อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 ยังเป็นวัคซีนชนิดใหม่ที่มีข้อมูลไม่มาก ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ตั้งคณะที่ปรึกษาและคณะทำงาน 6 คณะ เพื่อติดตามการให้วัคซีนและติดตามผลข้างเคียง ได้แก่

  • คณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • คณะทำงานด้านวิชาการ
  • คณะทำงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสื่อสารประชาสัมพันธ์
  • คณะทำงานด้านการให้บริการวัคซีน ฝึกอบรม และกำกับติดตามผล
  • คณะทำงานด้านการประกันคุณภาพวัคซีนและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับใน 4 สัปดาห์
  • คณะทำงานด้านระบบข้อมูลการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

“วัคซีนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่สำคัญที่เรามีวันนี้ก็คือ การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ เว้นระยะห่าง ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังคงใส่หน้ากาก 100% วัคซีนเป็นเครื่องมือหนึ่งจะช่วยเสริมทำให้ระบบป้องกันควบคุมโรคดีขึ้น” นายแพทย์โอภาส กล่าว

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up