3.โรคช่องคลอดอักเสบ
สาเหตุจากเชื้อราที่มาจากความอับชื้น ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องคลอด มีลักษณะเป็นตกขาวที่คล้ายกับแป้ง และมีอาการคันบริเวณช่องคลอด รวมถึงสาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเกิดการสวนล้างช่องคลอด การใช้แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัยแล้วมีการอับชื้น การสวมใส่กระโปรงหรือกางเกงที่รัดรูปจนเกินไป หรือการทานยาแก้อักเสบบ่อย ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด มีตกขาวผิดปกติได้
ช่องคลอดอักเสบ อาการ:
- ส่วนใหญ่สังเกตเห็นได้จากอาการตกขาวมากผิดปกติ
- ลักษณะตกขาวมีสีขาวเนียนปนสีเทาอ่อน หรือมีสีแปลก ๆ ที่อาจปนกับเลือด
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาว และกลิ่นมักจะรุนแรงหลังการร่วมเพศหรือหลังหมดประจำเดือน
- มีอาการคันระคายเคืองบริเวณปากช่องคลอด
- บางรายอาจมีอาการแสบร้อนในช่องคลอดหรือเจ็บช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์
ช่องคลอดอักเสบ การรักษา : เมื่อรู้สึกมีอาการคันบริเวณช่องคลอดและมีตกขาวที่มากผิดปกติ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในและหาสาเหตุ และเพื่อสุขอนามัยที่ดีและเลี่ยงการอับชื้นควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงในช่วงที่มีประจำเดือนมาหรือมากกว่านั้นหากประจำเดือนมามาก ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้น้ำยาล้างโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการสวมชุดชั้นในหรือเมื้อผ้าที่เกิดความอับชื้นและรัดรูป งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหาย ถ้าจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น
4.ภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือน
สาเหตุหลัก ๆ มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายช่วงนั้นผิดปกติ เช่น อาจจะเกิดจากความเครียด อาหารการกิน การลดน้ำหนักที่ทำให้การรับประทานอาหารเพิ่มหรือลดลงเร็วผิดปกติจนฮอร์โมนแปรปรวน การกินยาคุมกำเนิดซึ่งจะเข้าไปกดการทำงานของรังไข่ให้ผิดปกติได้ หรืออาการอื่น ๆ เช่น ปวดท้องมากผิดปกติ คลำเจอก้อนเนื้อ อาจเกิดจากเนื้องอก ซีสต์ มะเร็ง เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ หรือมีพังผืดที่อุ้งเชิงกราน ฯลฯ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือนได้
ประจำเดือนผิดปกติ อาการ:
- ปวดประจำเดือนผิดปกติ
- ประจำเดือนมากระปิดกระปอย
- ประจำเดือนมามากเกินกว่า 7 วันหรือน้อยเกินไป
- ประจำเดือนขาดทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
- สังเกตุได้จากการมีลิ่มเลือดปนออกมากับประจำเดือนมากผิดปกติ
- ระยะห่างของประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 35 วัน ประจำเดือนหายไป 3-6 เดือน เป็นต้น
ประจำเดือนผิดปกติ การรักษา : การมีภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือนอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่น ๆ หากพบความผิดปกติที่มากขึ้นควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจภายในหรืออัลตร้าซาวด์หน้าท้องหรือช่องคลอด หรืออาจมีการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีรักษาต่อไป
ถึงแม้ปัจจุบันนวัตกรรมในการรักษาจะพัฒนากว้างไกลและโรคดังกล่าวข้างต้นแม้จะไม่ร้ายแรง แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการที่มีผลต่อสุขภาพในระดับต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากพบว่ามีอาการปกติเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ควรไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะหรือโรคที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะผู้หญิงได้ และการได้ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็จะเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อสุขภาพ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนะคะ.
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhospital.com, www.paolohospital.com, www.siphhospital.com
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ถุงน้ำรังไข่ หรือ เดอร์มอยด์ซีสต์ อีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง!
ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่