หมอธีระ แนะ เด็กติดโอไมครอน ต้องเตรียมอะไรบ้าง? - Amarin Baby & Kids
เด็กติดโอไมครอน

หมอธีระ แนะ เด็กติดโอไมครอน ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กติดโอไมครอน
เด็กติดโอไมครอน

ตั้งแต่ช่วงหลังเทศกาลปีใหม่มีประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด – 19 สายพันธุ์โอไมครอน เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณี เด็กติดโอไมครอน ที่เพิ่มขึ้นทั้งที่มีอาการหนักจนต้องโทรประสานโรงพยาบาลเพื่อขอเตียง และอาการไม่หนักที่สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาและกักตัว ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก หมอธีระ แนะนำการเตรียมตัวที่แม่ควรรู้หากลูกติดโอไมครอน ดังนี้

หมอธีระ วรธนารัตน์ แนะ เด็กติดโอไมครอน ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงการระบาดอย่างหนักของโควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอน รวมถึงช่วงนี้มีกรณีเด็กติดโอไมครอน จำเป็นต้องมีวิธีการรับมือจากคนในครอบครัว และ การทำ Home Isolation หรือ กักตัวที่บ้าน แม้จะยังไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ก็สามารถเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ ก่อนที่จะเกิดการติดเชื้อ

หมอธีระ
ใส่หน้ากากตลอดเวลา หากลูกติดโอไมครอน

หมอธีระแนะนำการเตรียมตัวที่แม่ควรรู้หาก เด็กติดโอไมครอน

เด็กติดโอไมครอน
ใส่หน้ากากตลอดเวลา หากลูกติดโอไมครอน
เด็กติดโอไมครอน
แยกเด็กให้ห่างจากคนในบ้านมากที่สุด โดยคุณแม่ดูแลใกล้ชิด

หมอธีระ แนะนำการเตรียมตัวที่แม่ควรรู้หากลูกติดโอไมครอน ดังนี้

“เมื่อกี้นี้ได้รับทราบมาว่า มีเด็กติดเชื้อกันมากขึ้น และมีการติดในครอบครัวกันมากขึ้น อยากเรียนแนะนำดังนี้

– แต่ละครอบครัวควรเตรียมแผนรับมือเวลาเกิดปัญหาใครคนใดคนหนึ่งติดเชื้อหรือไม่สบายขึ้นมาไว้ล่วงหน้า

-เตรียมข้าวของเครื่องใช้และหยูกยาที่จำเป็นเอาไว้ เผื่อจำเป็นต้องใช้

-จัดที่ทาง ห้องหับ สำหรับเวลามีใครไม่สบาย จะได้ไม่ต้องโกลาหล

-หาชุดตรวจไว ATK สำรองไว้ที่บ้าน

-หมั่นติดตามข้อมูลความรู้ จุดบริการตรวจคัดกรองโรค และสถานบริการตรวจ RT-PCR ใกล้บ้านไว้

-อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากากผ้า เจลและ/หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ควรมีไว้ใช้อย่างพอเพียงสำหรับทุกคนในบ้าน

-หากรู้จักหรือคุ้นเคยกับบุคลากรทางการแพทย์ อาจขอเบอร์ หรือไลน์ไว้เผื่อติดต่อปรึกษา

ต่างประเทศนั้น ระลอก Omicron จะติดกันมากในเด็ก และคนสูงอายุ ดังนั้นจึงต้องระวัง ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ขอให้ปลอดภัยทุกคนครับ”

สถานการณ์การระบาดของโอไมครอนในเด็กที่เพิ่มมากขึ้นทุกที ประกอบกับการแนะนำจากหมอธีระที่ให้คุณแม่ควรเตรียมการล่วงหน้าไว้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน ทีมแม่ ABK จึงขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของการเตรียมทำ Home Isolation หากลูกติดโอไมครอนค่ะ

เตรียมแผนรับมือ Home Isolation หากมีเด็กติด ‘โอไมครอน’

สำหรับการติดเชื้อโอไมครอนนั้น แน่ชัดแล้วว่า อาการของเด็กนั้น ไม่รุนแรง โดยรวมมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล การให้เด็กกักตัวที่บ้าน หรือ “Home Isolation” จึงกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญอีกหนึ่งทางค่ะ

Home Isolation เริ่มจากลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ

หากเด็กตรวจ ATK แล้วพบว่าผลเป็นบวกติดเชื้อ “โควิด-19” ตามหลักเกณฑ์ของ สปสช. เกี่ยวกับการให้บริการโรคติดเชื้อ “โควิด-19” คุณแม่ต้องพาลูกเข้าสู่ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อ “โควิด-19” ที่บ้าน (Home Isolation) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดตามอาการ เพื่อป้องกันภาวะโรคที่อาจรุนแรงและช่วยควบคุมการแพร่ระบาดด้วย

ระบบ Home Isolation ครอบคลุมดูแลผู้ติดเชื้อ “โควิด-19” ทุกสิทธิการรักษา เข้าสู่ระบบด้วย 3 ช่องทาง ดังนี้

  • โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14
  • กรอกข้อมูลด้วยตนเอง ที่ลิงค์ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketH
  • Line สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU ทำได้ง่ายๆ ดังนี้ หลังจากเพิ่มเพื่อนไลน์ @nhso ให้กดเมนู บริการเกี่ยวกับ “โควิด-19” หลังจากนั้นเลือกหัวข้อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม Support Covid-19 ทั้งในส่วนข้อมูลบุคคลและข้อมูลผู้ป่วย Covid-19

เมื่อลงทะเบียนในระบบ Home Isolation แล้ว เจ้าหน้าที่จะเร่งประสานและจับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อรักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน โดยภายใน 6 ชม. จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อประเมินอาการเบื้องต้น ถ้าเกินเวลาแล้วยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ ให้โทร.แจ้งที่สายด่วน สปสช. 1330 อีกครั้ง ทางเจ้าหน้าที่จะติดตามให้

 

การดูแลหลังจับคู่ดูแลกับสถานพยาบาล

หลังจับคู่ดูแลกับสถานพยาบาลแล้ว จะได้รับบริการดูแลดังนี้

  • การประเมินอาการด้วยวิดิโอคอลติดตามวันละ 1 ครั้ง
  • เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ยาฟ้าทะลายโจรและยาพื้นฐานอื่นๆ
  • ส่งอาหารให้วันละ 3 มื้อ

ทั้งนี้เรื่องการส่งอาหารและยาฟ้าทะลายโจร เป็นไปตามมาตรการของแต่ละสถานพยาบาลนะคะ

หมอธีระ
แยกเด็กให้ห่างจากคนในบ้านมากที่สุด โดยคุณแม่ดูแลใกล้ชิด

ลักษณะบ้านพักที่เหมาะสมกับการกักตัว

บ้านหรือที่พักอาศัยของ เด็กป่วยโควิด-19 ในช่วงที่ต้องแยกตัว ควรจะต้องมีลักษณะ ดังนี้

  1. ลูกต้องอยู่ในที่พักอาศัยตลอดระยะเวลา ไม่ให้ออกจากที่พัก
  2. มีห้องนอนส่วนตัว ถ้าไม่มีควรมีพื้นที่กว้างพอที่จะนอนห่างจากผู้อื่น
  3. ต้องเปิดประตูหน้าต่างให้ระบายอากาศได้ดี
  4. มีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ได้
  5. ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องสุขอนามัย และการแยกจากเด็กป่วยได้
  6. ติดต่อกับโรงพยาบาลและเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก
  7. หากบ้านหรือที่พักไม่เหมาะสม อาจต้องหาสถานที่แห่งอื่นในการแยกตัว

 

แนวทางการปฏิบัติตัวขณะอยู่ระบบใน “Home Isolation”

              เมื่อลูกต้องกักตัว คุณแม่ควรดำเนินการดูแลให้ลูกน้อยปฏิบัติตัว ตามกฎนี้ค่ะ

  • ห้ามออกจากที่พักโดยเด็ดขาด ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมลูกที่บ้านระหว่างแยกตัว
  • ห้ามเข้าใกล้คนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ต้องเว้นระยะห่างทุกคน 2 เมตร
  • คุณแม่พาลูกแยกห้องพัก แยกของใช้ส่วนตัวห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ ก็ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นมากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • คุณแม่ควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
  • คุณแม่ควรแยกลูกออกมาเมื่อต้องรับประทานอาหาร ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • หากลูกยังมีอาการไอจาม ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า
  • คุณแม่ล้างมือลูกด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล ทุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ สัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ฯลฯ และโดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม
  • แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน ของลูก ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นและแยกขยะ
  • การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งให้ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือ ด้วยแอลกอฮอล์ หรือ น้ำ และสบู่ ทันที

เมื่อลูกน้อยติดโควิด-19 สายพันธ์โอไมครอน คุณแม่ต้องตั้งสติ อย่างลนลาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสังเกตอาการตามที่แนะนำ หากลูกอาการไม่หนัก คุณแม่สามารถนำลูกเข้าสู่ระบบการกักตัว หรือ Home Isolation แล้วดูแลจนลูกหายดีได้เลยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

สปสช. , คมชัดลึก, กรุงเทพธุรกิจ, สำนักข่าวอิศรา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คนท้องติดโควิด คนท้องทำ Home isolation ได้ไหม?

วิกฤต! เด็กเล็กติดโควิด ทะลุหมื่นราย แรกเกิด-6ขวบ อาการหนักเฉียดพัน!

ติดโควิด 5 วิธีกักตัวที่บ้าน ดูแลตัวเองและลูกๆ ระหว่างรอเตียง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up