จากข่าวในสังคมออนไลน์ปีที่ผ่านมา มีข่าวคุณแม่ท่านหนึ่งออกมาบอกว่าลูกน้อยเป็น โรคขาดแฟคเตอร์ 7 ที่มีเลือดออกจากร่างกายเองและมีค่ารักษาพยาบาลสูง เราจึงพลาดไม่ได้ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่หลายคนไม่รู้จักชนิดนี้ให้มากขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ พญ.อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้มาอธิบายอย่างละเอียดค่ะ
โรคขาดแฟคเตอร์ 7 คืออะไร?…ทำไมเด็กจึงเลือดออกง่าย
โรคขาดแฟคเตอร์ 7 เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดออกง่ายผิดปกติและหยุดยาก แต่พบได้น้อยคือประมาณ 1:500,000 คน ถึง 1:1,000,000 คน เกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย ในขณะที่โรคฮีโมฟีเลียที่เคยได้ยินกันมักจะพบได้บ่อยกว่าคือ 1:10,000 และส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชาย
แฟคเตอร์ (coagulation factors) 7 คือโปรตีนตัวหนึ่งที่อยู่ในเลือดของคนเรา โดยสารโปรตีนเหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เลือดแข็งตัว และหยุดไหลดังนั้นหากร่างกายขาดสารโปรตีนชนิดนี้ก็จะทำให้มีเลือดออกผิดปกติ แต่ในร่างกายเราจะมีโปรตีนอยู่หลายชนิด ซึ่งหากขาดตัวไหนก็จะส่งผลที่ต่างกันไปนั่นคือถ้าร่างกายขาดแฟคเตอร์ 8 ก็จะทำให้เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ชนิด A ถ้าขาดแฟคเตอร์ 9 ก็จะเป็นฮีโมฟีเลีย ชนิด B แต่การขาดแฟคเตอร์ 7 จะเรียกว่าโรคขาดแฟคเตอร์ 7 โดยไม่ได้ตั้งชื่อเป็นพิเศษ และมีโอกาสเกิดน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีใครรู้จักโรคนี้
โรคขาดแฟคเตอร์ 7 นั้นมี 2 ชนิด
- ชนิดแรกพบในเด็กเล็ก มีอาการรุนแรงตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิตทั้งหมด หากตรวจพบได้เร็วตั้งแต่เกิด ก็จะมีการให้พลาสม่าชนิดพิเศษที่ทำให้เลือดแข็งตัว ช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้
- ชนิดที่สองพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่มีอาการเลือดออกง่าย แต่อาการจะไม่มาก คือได้รับอุบัติเหตุ
แล้วเลือดออกเยอะ หรือการไปทำหัตถการ เช่น ถอนฟัน หรือผ่าตัดแล้วมีเลือดออกมากผิดปกติหรือหยุดยาก แต่โรคนี้จะอันตรายมากสำหรับเด็กเพราะจะทำให้เลือดออกในสมองและอวัยวะต่างๆ จนเสียชีวิตได้
อ่านต่อ >> “สาเหตุของโรคขาดแฟคเตอร์ 7” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่