วิลเลี่ยม ดี เซย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาทางเดินอาหาร และอายุรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า โดยปกติแล้วในเวลา 1-2 วันนั้นลำไส้ใหญ่จะเริ่มบีบตัวเล็กน้อย เพื่อเป็นการเตรียมตัวเริ่มกระบวนการขับถ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาค จากนั้นเมื่ออุจาาระเริ่มเดินทางมาถึงส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่ หรือที่เราเรียกว่า เรกทัม หลังจากนั้นลำไส้จะเริ่มยึดตัว และเส้นประสาทต่าง ๆ จะเริ่มส่งสัญญาณไปถึงสมองว่า ได้เวลาจำกัดของเสียแล้ว!
กลั้นอุจจาระ บ่อย ๆ ส่งผลเสียอะไรบ้าง ?
- อุจจาระไม่เป็นเวลา หากเราหรือว่าลูกกลั้นอุจจาระบ่อย ก็จะส่งผลให้ระบบขับถ่ายของเราคลาดเคลื่อน และไม่สามารถขับถ่ายให้เป็นเวลาได้ เนื่องจากร่างกายจะเริ่มเข้าใจว่าเราไม่อยากขับถ่ายนั่นเอง
- ทำให้ท้องผูก การกลั้นอุจจาระไม่ให้ร่างกายขับของเสียออกมาในเวลาที่เหมาะสมนั้น ทำให้อุจจาระของเราร่นกลับเข้าไปค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการทับถมอัดแน่นจนทำให้การถ่ายครั้งต่อไปนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น เพราะมีจำนวนของเสียที่ต้องการจะถ่ายออกเพิ่มขึ้น และแน่นอนค่ะว่า กลิ่นที่จะตามมานั้นมีความรุนแรงมากกว่าเดิมอีกด้วย
- เสี่ยงเป็นริดสีดวงทวาร / มะเร็งลำไส้ เมื่อระบบขับถ่ายมีปัญหา อุจจาระเริ่มเป็นก้อนแข็ง ทำให้เกิดการบาดที่ปากของทวารหนัก ทำให้ด้านในหนักปลิ้นออกมาข้างนอก และมีเลือด นี่ละค่ะ คือสัญญาณของโรคริดสีดวงทวารแล้ว และถ้ายังเป็นบ่อย ๆ และเป็นระยะเวลานาน โอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้นั้นก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การฝึกให้ลูกรวมถึงตัวเราเองขับถ่ายให้เป็นเวลา และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้มาก ๆ ก็ช่วยทำให้อุจจาระนุ่มขึ้น เวลาขับถ่ายออกมาก็สบายด้วยเช่นกัน ส่วนเวลาที่เหมาะสมกับการขับถ่ายนั้นก็คือ ตอนเช้าหลังตื่นนอนค่ะ หรือถ้าหากจะถ่ายอีกครั้งนึงสำหรับคนที่ชอบถ่ายมากกว่า 1 ครั้งต่อวันนั้นเวลาที่เหมาะสมก็คือ ตอนบ่ายหลังกลับบ้านนั่นเอง จะได้ไม่ไปปวดระหว่างทางอย่างไรละคะ