ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน ที่ถูกต้อง!
1. ควรนำสมุดบันทึกวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง
2. ไม่ควรรับวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน การเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้สามารถรับวัคซีนได้
3.หลังรับวัคซีนควรอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย10นาทีเพื่อดูปฏิกิริยาแพ้ยาแบบเฉียบพลัน เช่น ผื่นขึ้น หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ หมดสติเป็นต้น
4. หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะปวดเมื่อย สามารถทานยาลดไข้แก้ปวดพาราเซ็ตตามอลได้ ถ้าไม่แพ้ยา
5. หากมีอาการปวด บวม ภายใน 24ชั่วโมงแรก ให้ใช้ผ้าเย็นประคบ เพื่อลดเลือดไหลเวียนมาบริเวณนั้น อาการบวมจะลดลง
6. หากมีอาการบวมแดง ต้องประเมินว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าเป็นฝีควรปฏิบัติ ดังนี้
-
ฝีจากBCG ทำความสะอาดด้วย 70%alcohol หรือน้ำสะอาดที่ต้มสุก
-
ฝีต่อมน้ำเหลืองจาก BCG ควรพบแพทย์
-
ฝีจากคอตีบไอกรนบาดทะยัก มักเป็นฝีไม่มีเชื้อ ช่วงบวมแดงอาจประคบเย็นหากไม่ดีขึ้นหรือขนาดใหญ่ขึ้นให้พบแพทย์
7. หลังรับวัคซีนโดยเฉพาะเด็กโตอาจมีอาการหน้ามืดเป็นลม ให้นั่งนิ่งๆ อยู่กับที่หรือนอนราบอย่างน้อย 15 นาทีหรือจนอาการดีขึ้น
8. หากไม่สามารถมาตามนัดที่ฉีดได้ สามารถเลื่อนออกได้ (แนะนำว่าไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์)
9. หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา หรือมีอาการแพ้ไข่หรือไก่แบบรุนแรง กรุณาแจ้งกุมารแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบด้วย
อย่างไรก็ดีการ ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน คือพ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหลังจากลูกน้อยได้รับวัคซีน และเตรียมพร้อมข้อมูลด้วยวิธีที่แนะนำข้างต้น ก็เชื่อว่าคงจะเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับอาการข้างเคียงด้วยตัวเอง ไม่ต้องกังวลใจ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- เช็กเลย! ตารางวัคซีน 2561 ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง
- 5 วัคซีนเด็ก สำคัญ! ป้องกัน 9 โรคร้ายให้ลูกตอนโต
- เคล็ดลับ ปราบอาการเจ็บของลูกหลังฉีดวัคซีน
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วนิดา พิสิษฐ์กุล : คู่มือวัคซีน ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ปี 2013-2014, หนังสือการประชุมใหญ่ประจำปี 2557 ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และข้อมูล BCGจาก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย www.thonburi2hospital.com