การให้แพทย์หู คอ จมูก ช่วยเหลือ แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เป็นกล้องตรวจพิเศษแบบหักมุม ที่จะช่วยทำให้เห็นก้างปลาที่ติดอยู่ในลำคอได้อย่างชัดเจน และง่ายขึ้นมาก
ถ้าบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่เหนือกล่องเสียง และลูกกระเดือก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความโค้งงอหลากหลายมุมคีบออกมาได้ แต่ถ้าก้างปลาติดบริเวณที่ต่ำกว่าลูกกระเดือก แพทย์อาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์ และผ่าตัดเข้ามาช่วย
♦ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อก้างปลาติดคอ
เมื่อก้างติดคอ หลาย ๆ คนก็พยายามที่จะทำทุกวิถีทางให้ก้างหลุดออกมา จนอาจจะทำผิดวิธี และพาลทำให้อาการหนักกว่าเดิม และจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากรู้ตัวว่าก้างปลาติดคอ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการไอ หรือการยืดคอ เพราะอาจจะทำให้ก้างปลาที่ติดอยู่ในคอหลุดลงไปในหลอดอาหารและเป็นอันตรายกับหลอดอาหารได้
- ห้ามนำสิ่งของแหย่ลงไปในคอเพื่อเขี่ยก้างปลาออก เพราะอาจจะทำให้สิ่งของเหล่านั้นหลุดลงไปในคอและยิ่งเป็นอันตรายกว่าเดิม
- เลี่ยงการนวดหรือบีบบริเวณคอด้านนอก เพราะนั้นอาจจะยิ่งทำให้ก้างปลาทิ่มเข้าไปในคอลึกขึ้น และไม่สามารถนำออกมาได้ อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าเดิมด้วย
- อย่าปล่อยให้ก้างติดคอนานเกินไป เพราะยิ่งติดนานเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น หากวิธีแก้ก้างปลาติดคอในข้างต้นไม่สามารถช่วยได้ละก็ ควรไปพบแพทย์จะดีกว่าค่ะ
- หากพบว่าเจ้าตัวเล็กหายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที ไม่ควรชักช้า หรือปฐมพยาบาลเอง
- หากคอเกิดอาการบวมและเริ่มหายใจลำบาก ควรหยุดนำก้างปลาออกด้วยตนเอง และไปพบแพทย์โดยด่วน
เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดเหตุการณ์เล็กน้อยที่แสนเลวร้ายกับลูกเป็นแน่ แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นจริงๆแล้วละก็ คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงหลักดังนี้ค่ะ
- ต้องมีสติ อย่าตื่นตระหนก ตกใจ จะทำให้คิดอะไรไม่ออก
- ควรจะต้อง ศึกษาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีต่างๆ ไว้บ้าง จะได้แก้ไขทัน
- อย่าไว้ใจเด็กเด็ดขาด โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งทานอาหารเองได้
- อย่าประมาท อย่าปล่อยให้เด็กกินอะไรคนเดียว โดยไม่มีใครดูแล
- อย่าให้เด็กเล่นไปกินไป อย่ากระตุ้นให้เด็กออกเสียงต่างๆระหว่างกิน เช่น เฮ เย้ๆ อร่อยยยยย ควรรอให้กิน ให้กลืนให้เรียบร้อยก่อนนะคะ
นอกจากก้างปลาติดคอลูก แล้ว ปัจจุบันยังพบ “ลวดเย็บกกระดาษ” ติดอยู่ในลำคอมากขึ้นด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องทานปลาอย่างระมัดระวังแล้ว ก่อนรับประทานอาหาร ควรระมักระวังลวดเย็บกระดาษที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ของอาหารด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)
- ถ่านกระดุมติดคอลูกน้อย เสี่ยงหลอดอาหารทะลุ
- การทดลองเมื่อถ่านกระดุมติดคอเด็ก
- พ่อแม่ต้องรู้ 9 ข้อห้ามทำ เมื่อลูกเจ็บป่วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : health.sanook.com , health.kapook.com , www.bangkokhealth.com