พ่อแม่ควรระวัง! 7 ไม้ประดับมีพิษ ในบ้าน ไม่ปลอดภัยกับลูกน้อย

event

ไม้ประดับมีพิษ

การสกัดไม่ให้พิษเข้าสู่ระบบของร่างกาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับพิษโดยการรับประทาน การทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ยกเว้นพืชที่มีผลึก calcium oxalate ห้ามทำให้อาเจียน การล้างท้องโดยใช้ท่อมักไม่สามารถขจัดเศษใบไม้, ก้าน, เมล็ด หรือส่วนของพืชที่มีพิษออกได้ แม้ว่าจะใช้ท่อขนาดใหญ่ๆก็ตาม การทำให้ผู้ป่วยอาเจียนอาจมีปัญหาในผู้ป่วยที่รับประทานใบ และก้านจำนวนมากๆ คืออาจออกมาอุดบริเวณกล่องเสียงได้

ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการทำให้อาเจียนเช่น ผู้ป่วยหมดสติ การขจัดเศษพืชออกจาก กระเพาะอาหารเป็นปัญหามาก บางครั้งไม่สามารถล้างออกได้ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับผงถ่านและยาระบาย ถ้าไม่มีข้อห้าม อย่างไรก็ตามยังไม่การศึกษาที่เพียงพอที่จะแสดงถึงประสิทธิภาพของการให้ผงถ่านซ้ำๆ ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก พืชพิษ เนื่องจากพืชพิษส่วนใหญ่มักประกอบด้วยสารต่างๆ มากมายหลายชนิด ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ การพยายามเร่งขับสารพิษโดยการเร่งขับปัสสาวะจึงไม่ค่อยให้ประโยชน์มากนัก รวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยด้วย

การใช้ยาต้านพิษ

อาการพิษจากต้นไม้ หรือไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนใหญ่มักไม่มียาต้านพิษที่จำเพาะ แต่การใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อต้าน หรือตรงข้ามลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยา อาจจะช่วยในการดูแลรักษาลูกน้อยให้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าอาการเป็นเป็นไปในทางใด และเกิดขึ้นจากพืชชนิดใด มิฉะนั้นการให้การรักษานั้นอาจเป็นอันตรายได้

ทั้งนี้ในการรักษาจำเพาะบางอย่าง กรณีที่ลูกน้อยได้รับอันตรายเป็นแผลจากการถูกหนามขีดข่วน ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด หรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำเกลือทาบริเวณรอบๆ แผล ใส่ยาและปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค

ไม้ประดับมีพิษ

วิธีที่ถูกต้องในการดึงเสี้ยนออกเอง และเสี้ยนหรืออาการแบบไหนที่ต้องพาลูกไปโรงพยาบาลโดยด่วน เผื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาคุณแม่จะได้รับมือได้อย่างถูกต้องค่ะ

ก่อนที่เราจะเริ่มขั้นตอนการปฐมพยาบาล ให้คุณแม่สังเกตอาการ และลักษณะของเสี้ยนที่ตำก่อนว่า เสี้ยนมีขนาดใหญ่ไหม ฝังอยู่ลึกไหม ไม่สามารถดึงออกได้เอง บริเวณที่ถูกเสี้ยนตำนั้นมีอาการบวม แดงหรือไม่ หากคำตอบคือ “ใช่” คุณแม่ก็ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที เพื่อให้คุณหมอทำการรักษา แต่หากคำตอบคือ “ไม่” คุณแม่ก็สามารถทำการปฐมพยาบาลด้วยตนเองได้ค่ะ

เตรียมอุปกรณ์

  • แอลกอฮอล์
  • เข็มเย็บผ้า
  • แหนบ
  • ยาแดง
  • สำลี

วิธีปฐมพยาบาล

  1. แช่เข็มและแหนบในแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ ประมาณ 5 นาที

2. ล้างรอบๆ บาดแผลด้วยน้ำสบู่ และล้างมือคุณแม่ให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง

3. นำเข็มที่ฆ่าเชื้อไว้แล้วมาบ่งเสี้ยน ถ้าเสี้ยนมีปลายโผล่ขึ้นมานิดหน่อย คุณแม่สามารถใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อไว้แล้วดึงเสี้ยนออกได้เลย แต่หากเสี้ยนติดอยู่ภายในผิวควรทำดังนี้

ไม้ประดับมีพิษ

 นำเข็มสอดตามรูที่เสี้ยนติดอยู่ แล้วค่อยๆ งัดขึ้นให้หนังขาด

ไม้ประดับมีพิษ

 จากนั้นค่อยๆ งัดเสี้ยนที่ติดอยู่ให้เผยอออก

ไม้ประดับมีพิษ

 แล้วใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อแล้วคีบเสี้ยนออกมา

4.ทาแผลด้วยยาแดง แผลจะค่อยๆ ปิดสนิทภายใน 2 ชั่วโมง และแผลจะหายไปเองค่ะ

ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้ และศึกษาถึงชนิดและลักษณะของไม้ประดับมีพิษ ที่อาจปลูกอยู่ในบ้ายโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงต้องรูวิธีการป้องกันและรักษาขั้นเบื้องต้น เพื่อจะช่วยป้องกันการเกิดความเสียหาย และการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ไปดูกันเลยค่ะว่าพันธุ์ไม้ที่ดูไม่น่ามีพิษภัย แต่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยวัยกำลังซน จะมีอะไรกันบ้าง

อ่านต่อ >> 7 ไม้ประดับมีพิษ “ไม่ปลอดภัย” กับลูกน้อย คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up