อุทาหรณ์! อาหารติดหลอดลม เด็ก 2 ขวบดับจากเม็ดมะขามติดคอ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
อาหารติดหลอดลม

อุทาหรณ์! อาหารติดหลอดลม เด็ก 2 ขวบดับจากเม็ดมะขามติดคอ

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารติดหลอดลม
อาหารติดหลอดลม

วิธีปฐมพยาบาลลูกเมื่อ อาหารติดหลอดลม

อาหารติดหลอดลม เป็นปัญหาที่มีความสำคัญและอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี  ซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจเช่น รูจมูก และปาก ประกอบกับฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารชิ้นโตให้ละเอียดเพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหารได้ โดยเฉพาะหากกินไปวิ่งเล่นไปด้วย โอกาสที่จะเกิดอาหารติดคอ ก็จะมีมากขึ้น

วิธีปฐมพยาบาลเด็กโต – ผู้ใหญ่ เมื่อมีอาหารติดคอ (กรณีที่ยังรู้สึกตัวดี)

  1. ผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วย ใช้แขน 2 ข้างโอบรอบเอวผู้ป่วย
  2. กำหมัดข้างหนึ่งวางบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อยใต้ต่อกระดูกอ่อนลิ้นปี่
  3. ใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้แล้ว ทำการอัดเข้าท้องแรงๆ เร็วๆ ขึ้นไปข้างบน (ทำคล้ายกับจะพยายามยกผู้ป่วยขึ้น)
  4. อัดหมัดเข้าท้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ

สำหรับแม่ท้องและคนอ้วนลงพุง ให้ใช้วิธี “อัดอก” โดยกำหมัดวางไว้กลางอกบริเวณราวนม แล้วใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้ แล้วอัดอกแรงๆ เพื่อกระแทกมือที่กำหมัดไว้ให้กดกระดูกกลางอก เข้าไปในทรวงอกตรงๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนสิ่งแปลกปลอมหลุดหรือผู้ป่วยหมดสติ

ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้นิ้วมือกวาดไปในลำคอเด็ก เนื่องจากอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งที่มีการอุดกั้นมากขึ้น

วิธีปฐมพยาบาลทารกเมื่อมีอาหารติดคอ (กรณีที่ยังรู้สึกตัวดี)

  1. จับทารกนอนควํ่าบนแขน ให้ศีรษะตํ่าลงเล็กน้อย
  2. ใช้ฝ่ามือตบลงตรงกลางหลังของทารก (ระหว่างกลางของสะบัก 2 ข้าง) เร็วๆ 5 ครั้ง
  3. ถ้าไม่ได้ผล จับทารกนอนหงายบนแขนให้ศีรษะตํ่า แล้วใช้นิ้วชี้กับ นิ้วกลางวางบนกระดูกหน้าอกเหนือกระดูกลิ้นปี่ แล้วกดอกลง (สักครึ่งถึง 1 นิ้ว) เร็วๆ 5 ครั้ง
  4. ถ้าไม่ได้ผล ให้ทำการ “ตบหลัง” 5 ครั้ง สลับกับ “กดหน้าอก” 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดหรือทารกหมดสติ
อาหารติดคอ
วิธีการปฐมพยาบาลทารกเมื่ออาหารติดคอ

สิ่งสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาลผู้ที่มีอาหารติดคอคือการมีสติ ไม่ควรตกใจจนไม่สามารถปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี และนอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกันอุบัติเหตุจากอาหารติดคอลูก โดยการฝึกลักษณะนิสัยการกินที่ดี ไม่ทานข้าวไปพูดไป หรือวิ่งเล่นไป และควรสอนให้ไม่นำสิ่งของใด ๆ ก็ตามเข้าจมูกหรือปากเด็ดขาด

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกไม่ยอมเคี้ยว กลืนจนอาหารติดคอ จะแก้ไขอย่างไร?

วิธีการทำ CPR 3 ขั้นตอนง่ายๆ ช่วยชีวิตได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

วิธีเลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น เด็กญี่ปุ่นกินอย่างไรให้สุขภาพดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up