G6PD คือ โรคพร่องเอนไซม์ ถือเป็นหนึ่งใน โรคผิดปกติทางพันธุกรรม ที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูกน้อย จะอันตรายแค่ไหน และสามารถรักษาหายขาดได้หรือไม่ ทีมแม่ ABK มีคำตอบมาให้ค่ะ
G6PD คือ โรคอะไร
G6PD หรือ ภาวะขาดเอนไซม์ G6PD คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูก ทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้เป็นปกติ จึงอาจส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัวจนเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดที่มีอาการผิดปกติหลังคลอดที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์จีซิกพีดี จะเกิด “ภาวะตัวเหลือง” มีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด
- หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก
- ด็กตัวเหลือง หลังคลอด อันตรายอย่าป้อนน้ำเด็ดขาด!!
- ลูกตัวเหลือง เพราะกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่ (เรื่องจริงจากแม่)
โดยโรค G6PD นี้มีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ส่วนลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในเด็กผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง เช่นเดียวกับที่คุณแม่ป้ายแดง “ใหม่ สุคนธวา เกิดนิมิตร” ที่เพิ่งคลอดลูกชาย “น้องชิณะ สิริ์ปุณณ์” เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยน้องมีภาวะตัวเหลืองต้องเข้าตู้อบ สาเหตุมาจากเลือดของลูกกับแม่คนละกรุ๊ป และ น้ำนมแม่ยังไม่มา ลูกขาดสารอาหาร
และล่าสุดผ่านมาวันที่ 5 หลังคลอด คุณแม่ใหม่ก็ได้อัปเดตสุขภาพของลูกชาย โดยทีมแพทย์แจ้งข่าวพบว่า ลูกชายตรวจเจอว่าเป็น โรคพร่องเอนไซม์G6PD ซึ่งจะทำให้มีตัวเหลือง และจะเป็นโรคประจำตัวตลอดชีวิตไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คาดเป็นกรรมพันธุ์ถ่ายทอดมาจากฝั่งบ้านตน แต่ไม่กังวลเพราะได้เช็กข้อมูลก็พบว่ามีเด็กจำนวน 7 ใน 10 ราย สามารถเป็นได้เพียงแต่ต้องระวังการกินของลูกนั่นคือประเภทถั่วและเบอร์รี่
โดยตัวคุณใหม่เองก็ยอมรับว่า ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเองด้วยเหตุผลกลัวตกค้างในน้ำนมไปหาลูก และมองบวกว่าโชคดีที่ตนทำบุญบ่อยเลยไม่วิตกกังวล ถือลูกชายเป็นของขวัญที่เบื้องบนส่งมาให้วันเกิดวัย 39 ปี
จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกเป็นภาวะพร่องเอนไซน์ G6PD?
ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์จีซิกพีดี จะเกิด “ภาวะตัวเหลือง” มีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากมีบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าปกติ และโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน มีสีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
ทารกที่มีภาวะซีดเหลืองจากโรคจีซิกพีดีในระดับเบา แพทย์จะรักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อช่วยลดปริมาณสารสีเหลืองในเลือด และขับสารเหลืองออกจาากร่างกายทางปัสสาวะ และอุจจาระ แต่หากทารกมีอาการซีดเหลืองจากโรคจีซิกพีดี ในระดับรุนแรง แพทย์จะรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติทางสมองของทารก
- ลูกแรกเกิดมีตาขาวเป็นสีเหลือง ใช่อาการตัวเหลืองหรือไม่?
- 5โรคติดเชื้อที่ คนท้อง ห้ามละเลย..อาจทำให้ลูกพิการได้!!
ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะพร่องเอนไซม์G6PD
- โรคติดเชื้อ ที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือรา เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคปอดอักเสบ โรคไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้การติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ ก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้
- การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ถั่วบางชนิด โดยเฉพาะถั่วปากอ้า บลูเบอร์รี่ รวมทั้งสารอาหารหรือสารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่เติมลงไปในอาหาร เช่น ในขนมขบเคี้ยว อาหารหรือน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง ไส้กรอก เป็นต้น
- ยาบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน
- สารเคมีบางชนิด เช่น เมนทอลที่พบได้ในขนมประเภทลูกอมและในยาสีฟัน การบูร ลูกเหม็น เป็นต้น
- 5 วิธีรับมือ ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ ทำไงดี?
- รู้ทัน ภาวะซีดในทารก ก่อนลูกขาดธาตุเหล็กรุนแรง
เมื่อลูกเป็นโรค G6PD ควรดูแลอย่างไร
G6PD คือ “โรคแพ้ถั่วปากอ้า” ในอีกชื่อหนึ่งแม้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ในเด็กทำได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สามารถดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีและหลีกเลี่ยงปัจจัยเพื่อไม่ให้เกิดอาการของโรคแทนได้
- ควรดูแลสุขภาพลูกให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ป้องกันการติดเชื้อ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และไม่เครียด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ สอนลูกไม่เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบ เพราะจะขาดความสมดุลของสารอาหาร ซึ่งสารอาหารบางอย่างช่วยต้านการเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและพอดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม เพราะจะเพิ่มการใช้ออกซิเจนอย่างมากและกล้ามเนื้อทำงานหนัก จนอาจชักนำให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน
- เมื่อมีไข้ สังเกตเห็นอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม หรือการติดเชื้อให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรักษาสาเหตุของไข้
- เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยารับประทานกินเองไม่ว่ากรณีใด ๆ และควรแจ้งให้คุณหมอหรือพยาบาลทราบทุกครั้งว่ามีอาการป่วยเป็นโรคจีซิกพีดี
- สอนให้ลูกหลีกการรับประทานอาหารบางอย่างเช่น ถั่วปากอ้า พืชตระกูลถั่วหรือสิ่งกระตุ้นที่มีผลทำให้เกิดภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน รวมทั้งสอนให้สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสารกระตุ้น เช่น สีของปัสสาวะ สีผิวที่อาจซีดเหลือง เป็นต้น
- ควรแจ้งทางโรงเรียนและครูประจำชั้นให้ทราบว่าลูกเป็นโรคจีซิกพีดีหรือโรคแพ้ถั่วปากอ้า และเขียนรายชื่ออาหารและยาที่ไม่ควรให้ลูกรับประทาน
- เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะจีซิกพีดี ในหลายสถานพยาบาลมักให้บัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์G6PDควรพกบัตรติดตัวไว้
อย่างไรก็ตาม อาการของภาวะโรคจีซิกพีดีจะมีความรุนแรงไม่เท่ากันในแต่ละคน และส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการผิดปกติเลยหากไม่ได้รับหรือสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการได้ หรือได้รับสารกระตุ้นในปริมาณมาก ๆ จึงจะแสดงอาการป่วย และเนื่องจากโรคทางพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นหากลูกมีสภาวะเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์G6PD คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเป็นพิเศษและให้ความสำคัญในเรื่องอาหารและยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันได้ คอยสังเกตอาการหากบังเอิญได้รับสารกระตุ้น เมื่อมีอาการรุนแรงหรือผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยทันทีนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : nineentertain.mcot.net , www.bccgroup-thailand.com , www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓
ภาวะน้ำเป็นพิษ ในทารก เหตุผลว่าทำไมลูกต่ำกว่า 6 เดือน ไม่ควรกินน้ำ
เชื้อ CMV คืออะไร ไวรัสที่คนท้องติดเชื้อได้ มีผลต่อทารกแรกเกิด
ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการลูกจะเป็นอย่างไร อันตรายไหม