โรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก - amarinbabyandkids
โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกมีอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม

ตรวจสุขภาพก่อนมีลูก เรื่องนี้จำเป็นมาก!!

การเตรียมสุขภาพร่างกายก่อนมีลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรปฏิเสธ เพราะในเบื้องต้นจะช่วยคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้ค่ะ ซึ่งโปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนมีลูกส่วนมากจะมีอยู่ตามโรงพยาบาลทั่วไปทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน และนี่คือส่วนหนึ่งของโปรแกรมที่ตรวจคัดกรองในเบื้องต้น คือ…

ชาย-หญิง ตรวจร่างกายทั่วไปกับอายุรแพทย์

ชาย-หญิง วัดสัญญาณชีพ

ชาย-หญิง ตรวจหมู่เลือด

ชาย-หญิง ตรวจหมู่เลือดพิเศษ

ชาย-หญิง ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี

หญิง ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสหัดเยอรมัน

ชาย-หญิง ตรวจหาเชื้อกามโรค

ชาย-หญิง ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสเอดส์

ชาย-หญิง ตรวจโรคเลือดทางพันธุกรรม

ชาย-หญิง ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด

ชาย-หญิง ตรวจธาลัสซีเมีย

แนะนำว่าหากในครอบครัวของทั้งฝ่ายสามี และฝ่ายภรรยามีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือนอกเหนือไปจากนี้ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เพื่อจะได้มีการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยได้ และนี่คือคำแนะนำสำหรับการเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนมีลูกที่ทุกคนสามารถปฏิบัติกันได้ง่ายๆ ค่ะ

  1. ไปพบแพทย์เพื่อตรวจความพร้อมของร่างกายก่อนที่จะมีบุตรและควรพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ รวมถึงไปตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  2. ใส่ใจในโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารหรือวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิคให้ได้ในปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน
  3. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินกว่ามาตรฐาน
  4. งดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
  5. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้การแนะนำของแพทย์
  6. ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

นอกจากนี้เพื่อให้เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ แนะนำว่าพ่อแม่ควรมีการเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อมทั้งสองฝ่ายที่นอกจากจะตรวจสุขภาพก่อนมีลูก เรื่องโภชนาการอาหารการกิน การออกกำลังกาย การลดภาวะเครียดต่างๆ ฯลฯ ก็ควรที่จะปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยพร้อมกันค่ะ  …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

โรคไตในเด็ก รุนแรงแค่ไหน พ่อแม่รู้หรือยัง
โรคเตี้ยในเด็ก โรคใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก


ข้อมูลอ้างอิงจาก
1www.pharmacy.mahidol.ac.th
2www.bangkokhospital.com
3www.leukaemiacare.org
4www.pobpad.com
5,9,10sites.google.com
6med.mahidol.ac.th
7www.pobpad.com
8www.phyathai.com
www.bumrungrad.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up