สธ. เตือน "หัดเยอรมัน" ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
หัดเยอรมัน

สธ. เตือน “หัดเยอรมัน” ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง

Alternative Textaccount_circle
event
หัดเยอรมัน
หัดเยอรมัน

 

“สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นนั้นประเทศไทย อยู่ในระดับ 2 คือ มีคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวทั้งคนไทยที่จะเดินทางเข้ายังประเทศญี่ปุ่น และคนไทยหรือคนต่างชาติที่เดินทางจากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย

ทั้งนี้ คนไทยไม่ใช่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน หลายคนได้รับการฉีดวัคซีนมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่คนที่ยังไม่ได้ฉีด หากจำเป็นต้องไปญี่ปุ่นก็ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อรับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ถือว่ามีความเสี่ยงมาก หากไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1767461

โรค หัดเยอรมัน คืออะไร?

หัดเยอรมัน, เหือด หรือ หัดสามวัน (German measles/เจอร์มันมีเซิลส์, Rubella/รูเบลลา หรือ Three-day measles/ทรีเดย์มีเซิลส์) เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และออกผื่นคล้ายโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้าเป็นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไป มักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง โรคนี้เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยมักจะมีภูมิคุ้มกันไปจนตลอดชีวิต จะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

โรคหัดเยอรมันระบาด
ผื่นแดงมักจะขึ้นทั่วทั้งตัวหลังจากไข้ลด

ทำไมโรค หัดเยอรมัน ถึงอันตรายกับแม่ท้องและเด็กเล็ก?

โรคหัดเยอรมัน ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้ทารกพิการ หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เกิดภาวะหัวใจรั่ว มีภาวะผิดปกติทางสมอง อวัยวะภายในไม่สมบูรณ์ แท้ง หรือตายในครรภ์ได้ สำหรับความเสี่ยงหากแม่ท้องติดเชื้อหัดเยอรมันแล้วทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ โดยมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

  • ถ้ามารดาเป็นหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 2 จะพบทารกผิดปกติสูงถึง 60-85% แต่ถ้ามารดาเป็นหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 3 จะพบทารกผิดปกติประมาณ 1 ใน 3
  • ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ทารกในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก โอกาสที่ทารกในครรภ์จะติดเชื้อมีประมาณ 50% ในขณะที่มารดาที่ติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ 3-6 เดือน จะมีโอกาสติดเชื้อลดลงเหลือประมาณ 30% โดยการติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกจะทำให้เกิดความพิการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะมากกว่า และมีความรุนแรงมากกว่า ส่วนการติดเชื้อในช่วงการตั้งครรภ์หลัง ๆ ทารกจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าและจะมีความพิการเกิดขึ้นน้อยกว่า ซึ่งส่วนมากมักจะมีปัญหาเพียงแค่หูหนวกเท่านั้น

สำหรับเด็กเล็ก อาการหัดเยอรมันจะแสดงออกมาเหมือนเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปที่เป็นโรคนี้ เพียงแต่เด็กเล็กจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน และมีไข้ออกผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายสำหรับเด็กเล็กได้เช่นกัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ การติดต่อและอาการของโรค หัดเยอรมัน และ วิธีป้องกันตนเองของผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปญี่ปุ่น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up