ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบเป็น โรคมือเท้าปาก - amarinbabyandkids
โรคมือเท้าปาก

ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบเป็น โรคมือเท้าปาก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก

 

ใครคือกลุ่มเสี่ยงของ โรคมือเท้าปาก ?

  1. เด็กทารก
  2. เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

อาการ โรคมือเท้าปาก

ผู้ติดเชื้อโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย

  • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 37.5 – 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
  • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
  • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
  • ปวดศีรษะ
  • พบตุ่มพอง สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
  • เบื่ออาหาร หงุดหงิด
  • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน

เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก มักจะเป็นมากอยู่ 2 – 3 วันและจะหายได้เองภายในระยะเวลาประมาณ 10 วัน แต่ต้องคอยเฝ้าระวังภาวะขาดน้ำเนื่องมาจากอาการแสดงของโรคมักจะทำให้เกิดแผลในช่องปาก ซึ่งจะทำให้การกลืนอาหารเจ็บและลำบากได้

ที่น่ากลัวก็คือ เด็กที่ป่วยเป็น โรคมือ เท้า ปาก สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที มีดังนี้

  1. ลูกมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  2. บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  3. มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง
  4. ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  5. มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อย ๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก

ที่ไหนถือเป็นจุดเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้บ้าง คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up