1.การลดการสัมผัสเชื้อ โดยเชื้อโรคมือ เท้า ปากจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งมักจะติดอยู่บนมือแล้วนำเข้าปากหรือจับของเล่น ของใช้ ทำให้กระจายสู่ผู้อื่นได้ หากลดการสัมผัส จะสามารถป้องกันการรับเชื้อได้
2.หมั่นทำความสะอาดของใช้และของเล่นของเด็กเป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
3.หมั่นให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลัง รับประทานอาหารหรือเข้าห้องน้ำ เพื่อลดเชื้อสะสมบนมือและลดการแพร่สู่ผู้อื่น
4.หากพบผู้ป่วย ควรให้หยุดเรียนและรักษาจนกว่าจะหายดี ควรแยกของใช้ส่วนตัวเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และไม่ควรคลุกคลีกับคนอื่นๆในครอบครัวหรือชุมชน เพื่อชะลอการระบาดและการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนควรคัดกรองเด็กนักเรียนทุกเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เพื่อตรวจดูนักเรียนที่มีอาการแสดงของโรค คือมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือก้น หากพบเด็กป่วยให้แยกออกมา แจ้งผู้ปกครองให้มารับกลับและพักรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ สำหรับผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบมีอาการควรพิจารณาให้บุตรหลานหยุดเรียนและพักรักษาจนกว่าจะหาย ทั้งนี้ โรคนี้ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน จะรักษาตามอาการ ถ้าหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที เพราะอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์รุนแรง เสี่ยงต่อ การเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ปกติ หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.newtv.co.th
ทำความรู้จักกับโรคมือเท้าปากในเด็ก
โรคมือเท้าปากในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสในลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) หลายชนิด พบบ่อยในเด็ก ทารกและเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต เกิดได้ประปรายตลอดทั้งปี และจะพบ เพิ่มขึ้นในฤดูฝนซึ่งอากาศเย็นและชื้น โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระบาด มาจากความแออัด สุขอนามัยสิ่งแวดล้อม ระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี และสุขวิทยาส่วนบุคคลบกพร่อง ซึ่งมักเกิดตามสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล เป็นต้น
โรคมือเท้าปากในเด็ก ติดต่อกันได้ง่ายและแพร่กระจายมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง จากจมูก ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส ติดเชื้อได้ทางตรง หรือทางอ้อม เช่น สัมผัส ของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกัน ทั้งนี้เชื้อเอนเทอโรไวรัส สามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน และพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วย ต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ โรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการโดยให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อนๆ รับประทานผลไม้ ดื่มน้ำ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม หลังจาก การติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิด โรคมือเท้าปากในเด็ก ซ้ำอีก จากเอนเทอโรไวรัสตัวอื่นๆ ได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ มาตรการการป้องกัน โรคมือเท้าปากระบาด ที่โรงเรียนควรมี