โรคลมแดด ที่ควรระวังให้มากกับ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้หญิงตั้งครรภ์
จริงๆ ทุกคนสามารถเป็นโรคลมแดดได้ หากทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งตอนที่มีแสงแดดจัดเป็นเวลานาน แต่กับบุคคล 3 กลุ่มนี้อาจต้องให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นั่นคือ ในผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะด้วยร่างกายแล้วไม่สามารถทนกับความร้อนได้มากและนาน ทำให้ง่ายต่อการเกิดภาวะลมแดด ซึ่ง นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(1) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคลมแดด ที่ควรระวังไว้ดังนี้
“สภาพอากาศในตอนกลางวันร้อนมาก ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็กร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย ที่อันตรายถึงชีวิตได้แก่ โรคลมแดด แม้จะพบไม่ได้บ่อยในประเทศไทย แต่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เกิดได้กับทุกคนที่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กเล็ก เนื่องจากยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เด็กเล็กจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายจากความร้อนได้ง่าย ทำให้การปรับตัวของร่างกายต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ หากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส จะมีผลกับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิตได้”(1)
Good to know… “โรคลมแดด (Heatstroke) คืออาการที่ร่างกายมีเหงื่อออกมาก ผิวหนังร้อน ตัวสั่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดศีรษะ พูดช้าสับสน เห็นภาพหลอน หายใจเร็วตื้น เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว มีไข้สูง หมดสติ ช็อก และหากได้รับการรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้”
อ่านต่อ >> “การป้องกันลมแดดในเด็กเล็ก” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่