ศ.พญ.อำไพวรรณ จวนสัมฤดออก ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย-กรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดรุนแรงมาก และชนิดรุนแรงแรงปานกลาง จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเลือดออก เดือนละ 2-3 ครั้งตลอดปี
โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคเลือดออกง่ายหยุดยากทางพันธุกรรม เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกบ่อยในข้อ ในกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อรับน้ำเหลืองทดแทนแฟคเตอร์แปด หรือแฟคเตอร์เก้า ซึ่งเป็นสารโปรตีนช่วยในการแข็งตัวของเลือดที่ผู้ป่วยขาดเป็นเวลา 3-7 วัน เพื่อรักษาอาการดังกล่าว
อะไรคือสาเหตุของการเกิดโรค?
ฮีโมฟีเลีย เกิดจากการที่บุคคลที่เป็นโรคขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม โดยเกิดจากความผิดปกติของยีน โดยมารดาจะเป็นพาหะนำโรคหรือเป็นผู้แฝงโรค และนำความผิดปกติสู่บุตรชาย แต่เชื่อหรือไม่คะว่า ผู้ป่วยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคฮีโมฟีเลีย และเกิดโรคด้วยตัวเองโดยไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม