2.ชนิดเรื้อรัง
มักเกิดจากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก หรือติดเชื้อขณะคลอด แบ่งระยะของโรคออกได้ 3 ระยะดังนี้
- ระยะมีเชื้อแต่ไม่มีอาการ ขณะที่ยังมีอายุน้อย เช่น 10-15 ปี แม้จะมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือดและตับจำนวนมหาศาล แต่กลับไม่มีการอักเสบของตับเลย เนื่องจากภูมิต้านทานยังตรวจไม่พบว่ามีสิ่งแปลกปลอมแฝงตัวอยู่ในร่างกาย
- ระยะอักเสบ ถ้าภูมิต้านทานของผู้ป่วยเอาชนะไวรัสไม่ได้ อาจเกิดการอักเสบนานนับปี เมื่อมีการอักเสบของตับมากขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ตับก็จะถูกแทนที่ด้วยพังผืด แม้ในที่สุดภูมิต้านทานจะเข้าต่อต้านควบคุมไวรัสได้ แต่ตับอาจกลายเป็นตับแข็งไปแล้วเพราะผ่านการอักเสบมานาน
- ระยะสงบเชื้อน้อย จะพบว่าการทำงานของตับเป็นปกติ แม้มีเชื้อไวรัสก็ไม่มากนัก ผู้ป่วยที่ผ่านระยะที่ 2 มาได้ก็จะเข้าสู่ระยะนี้ เพราะผ่านการอักเสบมานาน แม้ว่าผลการทำงานของตับยังเป็นปกติ แต่ตับก็เสียหายไปมากแล้ว
วิธีกำจัด โรคไวรัสตับอักเสบบี จากแม่สู่ลูก ได้กำหนดมาตรการที่สำคัญ เอาไว้ดังนี้
1.เร่งรัดให้มีการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
2.ส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อได้รับ Hepatitis B Immunoglobulin (HBIG) อย่างน้อย 95%
3.ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและมีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีสูง ได้รับยาต้านไวรัสอย่างน้อย 95%
4.คงระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ให้ได้มากกว่า 90%
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เวลาที่คุณหมอนัดให้คุณแม่ไปรับการฉีดวัคซีน หรือนัดเพื่อตรวจดูพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ไม่ควรพลาดนัด ยิ่งเรารู้ได้ไวเท่าไหร่ ก็จะสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้มากเท่านั้น
ขอบคุณที่มา: Amarin Book และ ไทยรัฐ
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก!!
แม่ท้อง คือ 1 ใน 7 กลุ่มเสี่ยงที่ต้อง ตรวจไวรัสตับอักเสบบี – ซี
โรคตับอักเสบ ภัยเงียบคร่าชีวิตคนในครอบครัว
ภาวะครรภ์เสี่ยง ที่ต้องสังเกตและระวัง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่