ไส้เลื่อนในผู้หญิง เกิดจาก?
เพราะ ไส้เลื่อน (Hernia) สามารถเกิดได้กับผู้หญิง และเป็นได้ในทุกช่วงอายุ เป็นภาวะที่มีลำไส้บางส่วนไหลเลื่อนออกมาตุงอยู่ที่ผนังหน้าท้อง ทำให้เห็นเป็นก้อนบวมตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผนังหน้าท้อง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณข้างขวามากกว่าข้างซ้าย ทั้งนี้ สาเหตุของโรคไส้เลื่อน ยังเกิดจากการเบ่งถ่ายบ่อยครั้ง หรือเพิ่มความดันในช่องท้องเรื้อรัง เช่น ต้องเบ่งท้องผูกเป็นประจำ หรือมีอาการไอเรื้อรัง โดยจะสามารถเห็นเป็นก้อนตุง มีส่วนน้อยที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติภายหลัง เช่น แผลผ่าตัดที่หน้าท้อง
แต่อันตรายที่สำคัญที่สุดของไส้เลื่อน ก็คือไส้เลื่อนขาหนีบติดคา ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีอวัยวะในช่องท้องซึ่งในเพศชายมักจะเป็นลำไส้เล็กและถ้าเป็น ไส้เลื่อนในผู้หญิง ก็มักจะเป็นรังไข่ ท่อนำไข่ หรือลำไส้เล็ก เข้ามาติดคาอยู่ในถุงไส้เลื่อน เมื่อมีอวัยวะออกมาติดคาในถุงไส้เลื่อนแล้ว การไหลเวียนโลหิตของอวัยวะนั้นก็จะถูกรบกวน ทำให้อวัยวะนั้นขาดเลือด เกิดการเน่าตายได้
เมื่อเกิดภาวะไส้เลื่อนติดคานี้ ก็จะพบว่าลูกมีก้อนนูนเกิดขึ้นที่บริเวณขาหนีบ หัวหน่าว หรือถุงอัณฑะโดยไม่ยุบหายไป และอาจจะร้องกวนเนื่องจากความเจ็บปวด ร่วมกับมีอาการอาเจียน ลูกจะเจ็บเมื่อคลำบริเวณก้อน ในช่วงแรกที่เป็น ผิวหนังที่คลุมเหนือก้อนจะมีลักษณะปกติหรือบวมเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยให้เป็นนานต่อไป จะเกิดการบวมแดงของผิวหนังบริเวณนั้นเนื่องจากมีการขาดเลือดของลำไส้ที่ลงมาติดคา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน
- เพศชาย มีโอกาสเป็น 5 ต่อ 1 ของเพศหญิง
- มีประวัติในครอบครัว
- ไอเรื้อรัง
- ท้องผูกเรื้อรัง
- อ้วน
- ตั้งครรภ์
- งานบางอย่างที่ต้องยืนมาก ยกของหนักมาก
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด
อาการของเด็กที่เป็นไส้เลื่อน
อาจมีประวัติว่ามีก้อนบริเวณเหนือขาหนีบและข้างหัวเหน่าเข้าๆ ออก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเบ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ ไอ หรือร้องไห้ก็ตาม ซึ่งก้อนที่ออกมาจะยุบหายไปหมดเมื่อเด็กนอนหลับ พ่อแม่สามารถสังเกตอาการ ไส้เลื่อนในผู้หญิง ที่อาจเกิดกับลูกสาวได้ จากการเห็นก้อนแข็งของไส้เลื่อนมาข้างๆ อวัยวะเพศ หรือ ข้างหัวหน่าว (โดยอาจจะให้เด็กไอหรือเบ่งให้ดู) ซึ่งบางครั้งเจ้าก้อนนี้ก็สามารถดันก้อนไส้เลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้
ทั้งนี้ถ้าคุณหมอได้ตรวจร่างกายและพบก้อนไส้เลื่อนดังกล่าวและสามารถดันกลับเข้าไปได้ ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันทีว่าเป็นไส้เลื่อน สมควรที่จะได้รับการผ่าตัดรักษาโดยไม่ต้องรับการตรวจด้วยวิธีการพิเศษอื่นๆ
การรักษาโรคไส้เลื่อน
การรักษาที่ดีที่สุดก็คือการผ่าตัด แต่เมื่อคุณหมอแจ้งพ่อแม่ว่าควรจะผ่าตัด หลายคนมักจะอิดเอื้อนไม่อยากให้ผ่าตัดด้วย เพราะกลัวว่าลูกจะมีอันตรายจากการดมยาสลบ และมีแนวโน้มที่พ่อแม่จะประวิงการผ่าตัดให้ทำผ่าตัดในเด็กที่โตกว่านี้
ซึ่งความจริงแล้วการผ่าตัดไส้เลื่อนในเด็กไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย การดมยาสลบในเด็กซึ่งไม่เคยมีโรคประจำตัวใดๆ มาก่อนมีความเสี่ยงต่ำมากๆ การผ่าตัดนี้ไม่ได้ผ่าตัดเข้าไปภายในช่องท้องเพียงแต่ผ่าตัดซ่อมแซมผนังหน้าท้องที่เป็นปัญหาเท่านั้น การผ่าตัดใช้เวลานาน 30 – 45 นาที และเมื่อเด็กฟื้นจากการดมยาสลบและตื่นได้ดี ทางโรงพยาบาลก็จะให้กลับบ้านได้เลยในวันเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล ยกเว้นเด็กจะมีอายุน้อยมากๆ เช่นเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนดและมีอายุน้อยมากๆ ในขณะที่ผ่าตัดหรือเด็กมีโรคประจำตัวบางอย่างเช่นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคไต เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ก็ควรนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1 – 2 วัน
ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าลูกน้อยป่วยเป็นไส้เลื่อน สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ก็คือ ควรรีบพาลูกไปหาศัลยแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและผ่าตัดรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีกุมารศัลยแพทย์เฉพาะทาง ที่มีความชำนาญในการผ่าตัดรักษาเด็กโดยเฉพาะ การกลัวหรือการประวิงเวลาให้ผ่าตัดตอนเด็กโตนั้น คุณหมอไม่แนะนำให้ทำเช่นนั้น เนื่องจากความเสี่ยงในการดมยาสลบระหว่างเด็กเล็กและเด็กโตไม่ต่างกันมาก แต่การรอทำผ่าตัดตอนเด็กโตจะมีความเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อนติดคาได้ก่อน โดยอาการไส้เลื่อนติดคานี้มักจะเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ดังนั้นถ้าประวิงเวลาการผ่าตัดไส้เลื่อนออกไป เด็กอาจจะเกิดไส้เลื่อนติดคาอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ไส้เลื่อนในเด็ก อันตรายถึงชีวิต ทารกและเด็กหญิงก็เป็นได้
- ไส้เลื่อน สาเหตุเพราะลูกไม่ใส่กางเกงในจริงหรือ?
- แม่แชร์! ลูก สะดือจุ่น ผิดปกติ สุดท้ายเป็นไส้เลื่อนสะดือ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.samitivejhospitals.com , www.paolophahol.com , www.si.mahidol.ac.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่