โรคเฮอร์แปงไจน่า พ่อแม่ต้องระวังหากลูกชอบเอามือเข้าปาก - amarinbabyandkids
โรคเฮอร์แปงไจน่า

โรคเฮอร์แปงไจน่า พ่อแม่ต้องระวังหากลูกชอบเอามือเข้าปาก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเฮอร์แปงไจน่า
โรคเฮอร์แปงไจน่า

โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคระบาดที่ทุกคนควรรู้จัก แม้อาจเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไหร่นัก แต่หากติดทั้งอันตรายทั้งทรมาน ปัองกันไว้ดีกว่า สำหรับเฮอร์แปงไจน่ามักจะแทรกซ้อนขึ้นมาในช่วงที่มีโรค มือ เท้า ปาก ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาไปให้รู้จักับ โรคเฮอร์แปงไจน่า ว่าแท้จริงแล้วโรคนี้มีอาการอย่างไร?

โรคเฮอร์แปงไจน่า พ่อแม่ต้องระวังหากลูกชอบเอามือเข้าปาก!!

โรคระบาดมีมากมายให้พ่อแม่ต้องคอยกังวล และห่วงลูกน้อย ว่าลูกจะติดเมื่อไหร่ มีความเสี่ยงไหม ติดแล้วต้องระวังอะไร ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นจริง ๆ สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ  วันนี้จึงได้นำความรู้ เรื่องราวของ โรคเฮอร์แปงไจน่า อีกหนึ่งโรคระบาดที่อันตราย และต้องเฝ้าระวัง หากเป็นไปได้ป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อจะดีที่สุด

โรคเฮอร์แปงไจน่า สาเหตุของโรคมาจากอะไร?  

เฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) หรือโรคตุ่มแผลในปากเด็ก เป็นโรคในกลุ่มเดียวกับโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายสู่อากาศได้ เป็นโรคติดต่อจากการคลุกคลีกับผู้ป่วย จากน้ำลาย ละอองน้ำมูก น้ำลายจากการไอ จาม จากอุจจาระ และจากมือ เข้าสู่ปาก ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 4-14 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่วันแรกที่ติดเชื้อ ไปจนกว่าจะหายจากโรค คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์นับจากติดเชื้อ ดังนั้นหากเด็กที่เป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า ไอ หรือจาม โดยไม่ปิดปาก เด็กๆ ที่อยู่รอบข้างก็อาจติดเชื้อได้ง่ายๆ เลยค่ะ

Good to know…โรคเฮอร์แปงไจนา มักระบาดในช่วงฤดูร้อน และพบบ่อยในเด็กอายุ 3 ถึง 10 ปี เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงพบเท่าๆ กัน

โรคเฮอร์แปงไจน่า มีอาการของโรคอย่างไร?

สำหรับอาการของเฮอแปงไจน่า จะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับลูกๆ ได้ดังนี้

เด็กๆ ที่ป่วยด้วยโรคเฮอร์แปงไจน่า อาจจะมีไข้สูงเฉียบพลันได้ ที่อาการไข้อาจสูงถึง 41 องศาเซลเซียส มีอาการร่วม คือ เจ็บคอ คอแดง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อาจมีอาเจียน

  • อาการเด่น คือ จะมีอาการเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ต่อมา (ภายใน 1 วัน) จะมีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และอาจมีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้ ภายใน 24 ชั่วโมง จุดแดงๆ จะกลายเป็นตุ่มแดงขนาดเริ่มต้น 1-2 มิลลิเมตร แล้วกลาย เป็นตุ่มน้ำขนาด 2-4 มิลลิเมตร อาจเป็นแผลเล็กๆตรงกลางตุ่มน้ำนั้น หรืออาจมีการอักเสบรอบ ๆแผลได้ แผลอาจใหญ่ได้ถึง 10 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตุ่มน้ำมีจำนวนไม่มาก มักไม่เกิน 6 ตุ่ม แต่ก็อาจพบมากกว่า 15 ตุ่มได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ตุ่มและแผลพอประมาณ อย่างไรก็ตาม ไข้จะลดลงภายใน 2-4 วัน แต่แผลอาจคงอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับโรคเฮอร์แปงไจน่าจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับเฉพาะในช่องปากเท่านั้น
เด็กวัยเข้าเรียน มือสัมผัสเชื้อนำเข้าร่างกายทางตา ปาก
เด็กวัยเข้าเรียน มือสัมผัสเชื้อนำเข้าร่างกายทางตา ปาก

Must Read >> สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อรับมือกับ ‘โรคมือเท้าปาก’

 

เมื่อลูกป่วยด้วยโรคเฮอร์แปงไจนา ควรดูแลรักษาอย่างไร?

  • ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถกำจัดไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง วิธีรักษาจึงเป็นการดูแลผู้ป่วยตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ปวด หรือหยดยาชาภายปาก เพื่อช่วยลดอาการเจ็บแผลในปาก เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยก็จะสามารถค่อยๆ ฟื้นตัวได้เอง
  • การให้ยาชากลั้วปาก อาจช่วยในเด็กโตบางคน แต่ส่วนใหญ่ในการดูแลผู้ป่วยเด็กเล็ก แนะนำให้กินน้ำเย็น นมแช่เย็น หรือไอศกรีม (ทำจากนมแม่แช่เย็นเองเพราะบางทีที่ซื้อไม่สะ อาด เด็กอาจเกิดท้องเสียได้) ผู้ป่วยมักกินได้ดี เนื่องจากความเย็นทำให้ชา ไม่เจ็บเวลากลืน และจะพบอาการ/ภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารไม่มาก
  • ควรทานอาหารอ่อนๆ เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย รสไม่จัด และดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อช่วยลดไข้ ลดอาการขาดน้ำ และย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นค่ะ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด จะทำให้มีอาการเจ็บแสบบริเวณแผลมากขึ้น
  • แต่หากลูกมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจรักษาแยกจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมือเท้าปาก หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอ

 

herpangina-1

อ่านต่อ>> สิ่งที่พ่อแม่ต้องระวัง และ 6 วิธีป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up