โรคเฮอร์แปงไจน่า พ่อแม่ต้องระวังหากลูกชอบเอามือเข้าปาก - amarinbabyandkids
โรคเฮอร์แปงไจน่า

โรคเฮอร์แปงไจน่า พ่อแม่ต้องระวังหากลูกชอบเอามือเข้าปาก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเฮอร์แปงไจน่า
โรคเฮอร์แปงไจน่า

ระวังโรคแทรกซ้อน สิ่งที่ควรระวังเมื่อติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจน่า!!

โดยทั่วไปแล้วโรคเฮอร์แปงไจน่าจะไม่รุนแรง แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเจอได้จากโรคนี้ เช่น การอักเสบของก้านสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้อามเนื้อหัวใจอักเสบ และอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเจอได้ไม่บ่อยนัก

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนเป็นมาก ไม่ยอมทานไม่ยอมกลืนอาหาร ควรหาของอ่อน ๆ ให้เด็กทาน

วิธีป้องกันจากโรคเฮอร์แปงไจน่า

1246782117

ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา ดังนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ล้างมือให้สะอาด ระวังการสัมผัส น้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กที่เป็นโรค ซึ่งรวมทั้งของเล่นต่างๆด้วย เนื่องจากโรคเฮอร์แปงไจนาเองอาการไม่รุนแรง แต่แยกจากโรคมือ เท้า ปาก ได้ยากในช่วงแรก ซึ่งอาการของตุ่มในปากของโรคมือ เท้า ปาก อาจเกิดในบริเวณอื่นในปากก็ได้ แม้ ว่า โรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่อาการไม่มาก แต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่อาการมาก (จากเอ็นเทอโรไวรัส 71) การป้องกันโดยวิธีการแบบการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก จึงน่าจะเป็นประโยชน์ พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะอุ่นใจด้วย

7 ขั้นตอน กับวิธีล้างมือป้องกันโรค 

  1. ฟอกบริเวณฝ่ามือ ด้วยสบู่ นำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกันและถูจนรู้สึกว่าสะอาด
  2. ฟอกบริเวณง่ามนิ้วมือด้านหน้า ด้วยการถูซอกนิ้วด้วยสบู่ให้สะอาดหมดจด
  3. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วมือด้านหลัง โดยการปาดฟองสบู่มาที่หลังมือ ใช้ฝ่ามือถูหลังมือ และซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้นสลับข้าง ซึ่งบริเวณหลังฝ่ามือ มักจะเป็นจุดที่เราให้ความสำคัญในการล้างมือน้อยที่สุด การฟอกสบู่บริเวณหลังมือจะเป็นการฆ่าเชื้อโรคบริเวณหลังมือที่เรามักลืมไป
  4. ฟอกนิ้วมือ และข้อนิ้มมือด้านหลัง โดยการกำกำปั้นข้างหนึ่ง แล้วใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งล้างล้างบริเวณกำปั้นให้สะอาด แล้วสลับทำอีกข้าง
  5. ฟอกปลายนิ้วมือและเล็บ แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างหนึ่งล้างขัดฟอกสบู่ตามแนวขวางจนทั่ว สลับทำทั้งสองข้าง
  6. ฟอกโคนนิ้ว และหลังนิ้วหัวแม่มือ โดยการกางนิ้วหัวแม่มือ แล้วใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบ อล้วหมุนวนด้วยฟองสบู่เป็นวงกลม จนรู้สึกสะอาด แล้วสลับทำอีกข้าง
  7. ฟอกข้อมือ โดยการกำมือรอบข้อมือข้างหนึ่ง แล้วถูไปรอบ ๆ จากนั้นเปลี่ยนข้าง

เสร็จแล้วล้างน้ำให้สะอาด ระยะเวลาทำความสะอาด ควรใช้เวลาล้างมือทั้ง 7 ขั้นตอนรวมกันไม่น้อยกว่า 20 วินาที นอกจากนี้ควรทำมือแห้ง ด้วยการใช้กระดาษเช็ดมือแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดมือร่วมกันหลายคน และหลังจากเช็ดมือแล้ว ให้ปิดก๊อกน้ำโดยสัมผัสผ่านกระดาษเช็ดมือ ไม่ควรใช้มือสัมผัสที่ก๊อกโดยตรง

6 วิธีป้องกันโรค ป้องกันไว้ดีกว่าให้ลูกน้อยทรมาน!!

  1. ผู้เลี้ยงดูเด็ก และเด็ก ต้องล้างมือให้สะอาด ทั้งหน้ามือ หลังมือ ซอกนิ้วมือ รอบนิ้วมือ เล็บ ข้อมือทั้งสองข้าง หลังขับถ่าย ก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) อย่านำบุตรหลานเข้าไปในที่แออัด เมื่อมีการระบาดของโรค
  2. เมื่อบุตรหลานมีอาการป่วย ควรให้อยู่บ้าน ไม่ควรพาไปสถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียน หรือในที่ชุมชน เพราะจะนำโรค ไปแพร่ให้เด็กอื่น
  3. สถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาล ควรมีการสอบถามประวัติอาการเด็กที่หน้าโรง เรียนเกี่ยวกับเรื่องไข้ และตุ่มน้ำที่ปาก มือ และเท้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรค หากสงสัยโรคเฮอร์แปงไจนา หรือโรคมือ เท้า ปาก ควรให้พ่อแม่ผู้ปกครองพาเด็กกลับบ้าน และไปพบแพทย์ อย่านำเด็กเข้าไปในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียน และควรให้ความรู้แก่ครูพี่เลี้ยง พ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับโรค และการป้องกันโรคให้ทราบโดยทั่วกัน
  4. ในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาล ควรเน้นบุคลากรและเด็กในการดูแลตนเองตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ของเด็กแต่ละคนอย่าให้ปะปนกัน เพราะของเล่นต่างๆอาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือสิ่งขับถ่ายของเด็ก ควรหมั่นทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอก แล้วล้างน้ำให้สะอาดและนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
  5. การทำความสะอาดพื้น เพื่อฆ่าเชื้อโรค ควรทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกปกติก่อน แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว คลอรอกซ์ หรือ ไฮเตอร์ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วเช็ดด้วยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
  6. หากพบเด็กในห้องเรียนเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเป็นโรคเฮอร์แปงไจนา หรือ โรคมือ เท้า ปาก ควรต้องปิดห้องเรียน หรือโรงเรียน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน

เพียงเท่านี้ลูกน้อยของคุณก็รอดพ้นจากอันตรายของโรคเฮอร์แปงไจน่าได้แล้วล่ะค่ะ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากมีอาการหนักมากกว่าปกติ อาจทำให้แพทย์รักษายากขึ้น ใช้เวลารักษาและฟื้นตัวยากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การเรียน และการใช้ชีวิตในสังคมของลูกน้อยในอนาคตได้ค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com/th , health.sanook.com ,www.rama.mahidol.ac.th , vichaivej-nongkhaem.com 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ตั้งชื่อลูกพร้อมความหมาย ผู้ชาย ตามตำราไทย รวมไว้ที่นี่

โรคลัสสา โรคร้ายที่แม่ท้องต้องระวังให้ดี!

10 อันดับ ยาสีฟันสำหรับเด็ก แปรงสนุก ฟันสะอาด

10 วิตามินสำหรับเด็ก เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up