เริมในเด็ก คืออะไร?
เริม (Herpes) คืออาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1 : HSV-1)
- เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2 : HSV-2)
โดยเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้จะก่อให้เกิดอาการ เริมที่ปาก (Herpes Simplex) และเริมที่อวัยวะเพศ (Gential Herpes) และสามารถติดต่อกันระหว่างคนสู่คนได้โดยผ่านทางการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ทางน้ำลาย น้ำเหลือง หรือผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้
อาการของโรคเริม
เริมที่ปากในผู้ใหญ่ หากเกิดขึ้นครั้งแรกอาการที่มักพบได้คือ เจ็บคอ มีกลิ่นปาก และแผลภายในและรอบ ๆ ปาก แต่หากติดเชื้อซ้ำ อาการจะไม่รุนแรง โดยอาการที่มักพบ คือมีแผลที่บริเวณรอบปาก โดยอาการของเริมจะเริ่มจากความรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บ คัน และแสบร้อนบริเวณรอบปาก จากนั้นจะเกิดตุ่มน้ำขึ้นที่บริเวณขอบริมฝีปาก และตุ่มน้ำอาจมีของเหลวไหลซึมออกมา ก่อนจะแห้งและตกสะเก็ดต่อไป
เริมที่ปากในเด็ก มักพบการติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยอาการเริ่มจากเหงือกบวมและระคายเคือง เกิดแผลที่สร้างความเจ็บปวดภายในช่องปากและรอบ ๆ ปาก อาการนี้เรียกว่าเหงือกและปากอักเสบ (Gingivostomatitis) นอกจากนี้ ยังมีอาการเจ็บคอและต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำลายมากกว่าปกติ มีไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า เกิดภาวะขาดน้ำ รู้สึกคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ทั้งนี้ต้องใช้เวลา 7-14 วันกว่าอาการอื่น ๆ จะหายเป็นปกติ และแผลจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์จึงจะหายสนิท อย่างไรก็ตามสำหรับอาการเหงือกและปากอักเสบหากเกิดขึ้นแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก แต่อาการของ เริมในเด็ก อื่น ๆ สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้แม้อาการเคยกำเริบมาแล้วก็ตาม
สาเหตุของ เริมในเด็ก
สามารถติดต่อได้โดยตรงจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสใกล้ชิด อาทิ การจูบ การหอม รวมถึงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน นอกจากนี้หากผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวตั้งครรภ์และคลอดบุตร เด็กทารกที่คลอดออกมาก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส เริมได้ง่าย และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อไวรัสเริมนี้ ไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงช่วยควบคุมให้อาการสงบลงเท่านั้น
การป้องกันโรค เริมในเด็ก
แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ หรือป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็ก กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายโดยตรงกับผู้อื่น และห้ามใช้สิ่งของที่อาจแพร่เชื้อไวรัสร่วมกับผู้อื่น อาทิ แก้ว ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และลิบบาล์ม เป็นต้น และสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่นการจูบ การกอด-หอมจากผู้อื่น สำหรับคุณแม่ที่มีลูกที่อยู่ในวัยกำลังน่ารัก ควรปฏิเสธและหลีกเลี่ยงหากมีผู้อื่นมากอด-หอมลูก
จากอุทาหรณ์นี้ แสดงให้เห็นว่าคนเป็นพ่อแม่ ไม่ได้ห่วงลูกจนเกินไป เพียงแต่หากโรคเหล่านี้ ที่ดูเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ มาเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก สามารถทำให้เด็กเล็กทรมาณจากโรคได้มากแค่ไหน และในบางโรคอาจคร่าชีวิตลูกได้ด้วย มาเปลี่ยนความคิดที่เมื่อพ่อแม่หวงลูก ไม่ให้กอด หอมลูก ที่ว่า “ไม่เอาลูกไว้บ้านล่ะ , จะหวงอะไรนักหนา, แค่จับแค่นี้ไม่ตายหรอก” มาช่วยกัน รับรู้ ระวัง ร่วมกันทุกฝ่ายดีกว่านะคะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก
พ่อแม่ระวังโรคยอดฮิต ลูกเสี่ยงติดง่ายที่โรงเรียน
9 โรคติดต่อทางน้ำลาย ติดต่อได้ง่าย ๆ แค่กินน้ำแก้วเดียวกัน
รวม 12 เรื่องของ เด็กแรกเกิด ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!
สาเหตุที่ทำให้ลูก ทารกร้องไห้ และวิธีรับมือ
ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณแม่ Charlotte Louise Jones, พบแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่