อ้วน รังสิต เตือนพ่อแม่หากลูกปวดท้องมาก สังเกตให้ดีอาจเป็นแบบน้องโรฮามีภาวะ ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ ที่ทำให้ปวดท้องไม่หายตรวจไม่เจอ โชคดีแม่สังเกตจนพบโรคได้ทัน
อ้วน รังสิตเตือนพ่อแม่!! ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ น้องโรฮาเกือบต้องผ่าตัด
“อ้วน รังสิต” เผยอุทาหรณ์ ลูกชายปวดท้อง หาหมอ 3 คน บอกไม่เป็นไร ไม่มีไรน่าห่วง แต่กลับบ้านมายังปวดท้องไม่หาย จนล่าสุด ภรรยาเอะใจให้อัลตราซาวด์ จนตรวจพบว่าลูกมีภาวะลำไส้กลืนกัน
โดย “อ้วน รังสิต” เล่าว่า “ตั้งแต่เมื่อวานโรฮาปวดท้องแล้วไปหาหมอมา 3 คนภายในวันเดียว หมอบอกไม่เป็นไร ไม่มีไรน่าห่วง กลับมาบ้านแต่ก้ยังคงปวดท้องเป็นระยะ จะปวดมากทุกครั้งที่กินอาหาร สุดท้ายมาอีกครั้งและออมม่าขอให้หมออัลตร้าซาวน์ถึงเห็นว่ามีภาวะลำไส้กลืนกันอย่างที่ออมม่าคิด”
“สรุปงานนี้ออมม่าวิเคราะห์เก่งกว่าหมอ คุณแม่ทุกคนต้องสังเกตอาการลูกน้อยกันดีๆ ด้วยน้า อย่าปล่อยผ่านง่ายๆ ไม่งั้นอาการจะยิ่งแย่อาจถึงขั้นต้องผ่าตัด”
“สุดท้ายคือสงสารเด็กน้อยมาก ถูกจับล็อคทั้งวัน ตะโกนจนหมดแรงเลย หายไวๆ แล้วกลับไปฉลองวันเกิดน้าเจ้าโรฮา”
ที่มา : www.amarintv.com
ลูกปวดท้อง อย่าวางใจ!
อ้วน รังสิต เตือนพ่อแม่ หากลูกปวดท้องไม่หาย ปวดมากทุกครั้งที่กินอาหาร ไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะขนาดเขาพาลูกน้อยไปหาหมอมาถึง 3 คนยังตรวจไม่พบ ดังนั้นพ่อแม่มีส่วนสำคัญที่จะเฝ้าสังเกตอาการลูก เพื่อนำไปเป็นข้อมูลช่วยหมอวินิจฉัยได้อีกแรง
ลำไส้กลืนกัน เป็นอย่างไร??
โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) เป็นความผิดปกติของลำไส้อย่างรุนแรง โดยลำไส้ส่วนต้นเคลื่อนตัวมุดเข้าไปสู่โพรงลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย ทำให้ลำไส้อุดตัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณที่ลำไส้ใหญ่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเจ็บบริเวณช่วงท้องอย่างรุนแรง
ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ช่วงวัยอื่นมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะหากลำไส้กลืนกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเสียชีวิตได้
โรคลำไส้กลืนกัน โรคที่เกิดได้แม้ในเด็กที่แข็งแรง!!
ลำไส้กลืนกันเป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายที่มักพบในเด็กเล็ก ที่สำคัญมักเกิดกับเด็กที่ค่อนข้างแข็งแรง จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจดูแลและสังเกตลูกน้อยเป็นพิเศษ
สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็น ลำไส้กลืนกัน
โรคลำไส้กลืนกัน พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งความเป็นเด็กเล็ก ทำให้เขาไม่สามารถบอกอาการของตัวเองได้ชัดเจน จึงเป็นหน้าที่ ที่พ่อแม่ควรจะศึกษาอาการของโรคเอาไว้ หากพบว่าลูกปวดท้องบ่อย ๆ ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคลำไส้กลืนกันหรือไม่ และสังเกตอาการร่วมต่าง ๆ ที่มีดังต่อไปนี้
- ปวดท้องเฉียบพลัน
- กระสับกระส่าย
- มือเท้าเกร็ง
- ท้องเป็นตะคริวเป็นพักๆ โดยช่วงแรกจะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 10-15 นาทีแล้วหายไป และเว้นช่วงประมาณ 20-30 นาทีก่อนที่อาการจะกลับมาอีกครั้ง
- เด็กจะร้องไห้เสียงดัง และงอเข่าเข้ามาบริเวณหน้าอกขณะที่ปวดท้อง
- ง่วงซึม เหนื่อยล้า เนื่องจากมีอาการปวดท้อง ถ้าหากมีอากาซึม และเป็นไข้ร่วมด้วย นั่นเป็นสัญญาณอันตราย เตือนว่ามีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
- อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย (บางรายอาจยังไม่พบ) เช่น อุจจาระมีเลือดคล้ำ ๆ ปนเมือก อาเจียน คลำพบก้อนในท้อง มีไข้ ท้องผูกหรือท้องร่วง เป็นต้น โดยอาการร่วมเหล่านี้จะแตกต่างไปในแต่ละคน
โรคนี้สามารถเกิดได้กับวัยผู้ใหญ่เช่นกัน โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องเป็นพัก ๆ ติดต่อกันนาน 2-3 อาทิตย์ ซึ่งจะระบุอาการยากกว่าในวัยเด็ก เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจใกล้เคียงกับโรคอื่น ๆ
ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ ??
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด Intussuception ได้ แต่การเกิดโรคลำไส้กลืนกันในเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ลำไส้อักเสบ การผ่าตัดลำไส้ มีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้องอกในลำไส้ที่ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ ในกรณีของเด็กโตและผู้ใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากพังผืดในลำไส้ การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักหรือการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ การติดเชื้อจากโรคต่าง ๆ อย่างโรคโครห์น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้กลืนร่วมกันได้มากขึ้น คือ เป็นเพศชาย อายุตั้งแต่ 6 เดือน-3 ปี มีภาวะลำไส้หมุนตัวผิดปกติ มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคนี้ หรือเคยมีอาการในตอนเด็กก็อาจมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำเมื่อโตขึ้น
การวินิจฉัยโรคลำไส้กลืนกัน
ในประเทศไทยปัญหาสำคัญของโรคลำไส้กลืนกัน คือ การวินิจฉัยได้ช้า รายงานจากหลายสถาบันชี้ให้เห็นว่ายิ่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้า อัตราสำเร็จในการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดจะน้อยลง การศึกษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบว่าผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ครั้งแรกที่มาพบแพทย์ กว่าครึ่งที่เหลือได้รับการวินิจฉัย และรักษาเป็นโรคอื่นมาก่อน โดยส่วนใหญ๋ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นเป็น “ลำไส้อักเสบ”
เมื่อหมอสันนิษฐานว่าเด็กอาจมีอาการของโรคสำไส้กลืนกัน แพทย์จะวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการของเด็กและตรวจร่างกาย อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยด้วย ดังนี้
- การเอกซเรย์เพื่อตรวจดูการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้
- การทำอัลตราซาวด์โดยใช้คลื่นเสียงจับภาพลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นบริเวณที่ลำไส้มีความผิดปกติ
- การตรวจลำไส้ด้วยการสวนแป้งแบเรียม (Air Enema, Barium Enema) เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพลำไส้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในลำไส้ใหญ่ และปล่อยอากาศหรือของเหลวอย่างแป้งแบเรียมผ่านท่อดังกล่าวเข้าไปในลำไส้บริเวณที่ตรวจพบการอุดตัน ซึ่งวิธีนี้สามารถรักษาอาการลำไส้อุดตันได้อย่างดี และอาจไม่ต้องรับการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม
อ่านต่อ >>วิธีการรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้หากปล่อยไว้นาน คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่