- เพรียงหิน
- การป้องกันและรักษา ระวังเปลือกที่แหลมคมของเพรียงหิน เมื่อเดินไปตามโขดหินหรือเมื่อดำน้ำเก็บหอยแมลงภู่ หากถูกเพรียงหินบาดให้ทำความสะอาดบาดแผลและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาแดง หากเสียเลือดมากให้นำส่งแพทย์เพื่อเย็บบาดแผลทันที
- ปู โดยเฉพาะปูทะเล ปูม้า ปูใบ้ขนาดใหญ่ การจับปูเหล่านี้จึงต้องระมัดระวัง สำหรับปูใบ้นั้นมีเปลือกแข็งและก้ามแข็งแรงมาก เมื่อหนีบแล้วจะไม่ยอมปล่อยง่าย ๆ นอกจากการถูกปูหนีบแล้ว การกินปู เช่น ปูม้า หรือปูทะเลที่ไม่สดและมีดินตะกอน แบคทีเรียที่อยู่ในปูจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้เช่นกัน ซึ่งการบริโภคปูมีพิษ จะทำให้เกิดอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ และใบหน้า รวมทั้งอาการปวดท้อง และช็อคได้
- การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงการกินปูชนิดที่ไม่คุ้นเคย หากกินปูที่มีพิษเข้าไป ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และนำตัวอย่างปูที่มีพิษนั้นไปด้วย
- แมงดาทะเล การทานแมงดาทะเลที่มีพิษ แม้ว่าจะปรุงไข่หรือเนื้อให้สุกแล้ว แต้ก็ยังเป็นอันตรายได้ โดยพิษของแมงดาจะทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ปากชาพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อไม่ทำงาน หมดความรู้สึกและอาจเสียชีวิตได้
- การรักษา หากทานแมงดาทะเลมีพิษเข้าไป ต้องทำการล้างท้อง ให้อาเจียน และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- เม่นทะเล พบชุกชุมในแนวปะการังของชายฝั่งทะเลไทย บางชนิดมีพิษที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง ปวดและเป็นไข้ได้ หนามของเม่นทะเลจะทำให้เกิดอาการบวมแดง ชาอยู่นานประมาณ 30 นาที จนถึง 4-6 ชั่วโมง และหนามจะย่อยสลายไปภายใน 24 ชั่วโมง
- การป้องกันและรักษา โดยปกติเม่นทะเลไม่เป็นอันตรายต่อนักดำน้ำ ถ้าไม่เข้าไปใกล้หรือจับต้อง เมื่อถูกหนามเม่นทะเลตำ ให้ถอนหนามออก หากถอนไม่ออกให้พยายาททำให้หนามบริเวณนั้นแตกเป็นชิ้นเล็ก โดยการบีบผิวหนังไป หรือแช่แผลในน้ำร้อนประมาณ 50 องศสเซลเซียส เพื่อช่วยให่หนามย่อยสลายเร็วขึ้น แต่ก็มีหนามบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้เช่นกัน ต้องใช้วิธีผ่าออกเท่านั้น
- ปลาปักเป้า มีพิษมากโดยเฉพาะไข่ ตับ ลำไส้ ผิวหนัง ส่วนเนื้อปลามีพิษน้อย การกินปลาปักเป้า หากปรุงไม่ถูกวิธี จะทำให้พิษที่อยู่ในอวัยวะภายในปนเปื้อนเนื้อปลา เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ได้รับพิษ จนเกิดอาการชาที่ริมฝีปาก มีอาการคัน แสบร้อนที่ผิวหนังและตา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ขาอ่อนแรง หรือเกิดอัมพาต อาจร้ายแรงมากจนถึงขั้นเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และเสียชีวิตได้ค่ะ
- การป้องกันและรักษา งดทานอาหารแปลก ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ถามชาวประมงหรือคนในท้องถิ่น หากได้รับสารพิษเข้าไปแล้ว พยายามทำให้อาเจียนโดยวิธีล้วงคอ หรือให้ดื่มผงถ่านกัมมันต์ผสมน้ำ เพื่อดูดซับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นให้รีบนำส่งแพทย์
- ปลากระเบน หากเดินอยู่ริมชายฝั่งทะเลอาจเหยียบไปบนตัวปลากระเบนที่หมกตัวอยู่ตามพื้นทะเลได้ และอาจถูกเงี่ยงตำจนได้รับความเจ็บปวด บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้
- การรักษา การปฐมพยาบาลในขั้นแรกคือ ห้ามเลือดที่บาดแผล แล้วตรวจดูว่ามีเศษเงี่ยงพิษตกค้างอยู่หรือไม่ เนื่องจากพิษของเงี่ยงปลากระเบนเป็นสารพวกโปรตีนย่อยสลายในความร้อน ดังนั้น ควรแช่บาดแผลในน้ำร้อนเท่าที่จะทนได้ ประมาณ 30-60 นาที อาการปวดจะทุเลาลง และทานยาแก้อักเสบ หากมีอาการแพ้ควรรีบนำส่งแพทย์
ขอบคุณที่มา: We love คลิปเด็ด, ข่าวสด, Bangsaen และ TrueID
บทความอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่