เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เตรียมพร้อมรับวันใหม่ให้เจ้าตัวน้อย
1. โจ๊กหรือข้าวต้ม เพียงแค่คุณแม่ทำข้าวต้มหมูหรือกุ้งหรือทำโจ๊กกันทิ้งไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน จากนั้นแช่ตู้เย็นเอาไว้ ตอนเช้าก็ลุกมาอุ่น โรยหน้าเล็กน้อยด้วยต้นหอมและผักชี เพียงเท่านี้ก็จะได้อาหารเช้าแสนอร่อยอิ่มท้องสำหรับเจ้าตัวน้อยกันแล้วค่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> ข้าวต้มทรงเครื่อง (10 เดือน++) >> ข้าวต้มผักโขมแครอทแสนรัก ( 6 เดือน+) >> โจ๊กข้าวกล้องไก่บ้านกับผักสีรุ้ง (1 ขวบ++)
2. ขนมปังปิ้ง ให้คุณแม่ทำขนมปังปิ้งคู่ทานกับไข่ขาว 1 ฟอง เสิร์ฟพร้อมกับน้ำส้มหรือนมสด 1 แก้ว เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
♥ เมนูแนะนำ >> ปังหรรษา (2 ขวบ++)
3. ซีเรียล อีกหนึ่งเมนูสุดแสนจะง่ายมือคุณแม่มาก ก็คือ ทานซีเรียลผสมกับนมและเติมจมูกข้าวลงไปผสมอีกสักเล็กน้อย ตามด้วยส้มอีก 1-2 ผล เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกน้อยอิ่มท้องได้อีกมื้อแล้วค่ะ
♥ บทความแนะนำ : “อาหารตามวัย” กินอย่างไรให้ลูกแข็งแรง
4. แซนวิชผัก เมนูอาหารที่ทำได้ง่ายดายมากๆ ค่ะ แนะนำให้คุณแม่หันมาใช้ขนมปังโฮลวีทประกบกันแล้วใส่ผักต่างๆ ที่ลูกชอบลงไป อาจจะเติมเนื้อสัตว์อย่างไข่ต้ม ปลาทูน่าและเนื้อไก่ลงไปผสมตามก็ได้ ทานคู่กับนม 1 แก้ว รับรองได้ทั้งความอร่อย อิ่มสบายท้องและสุขภาพดีเห็นๆ เลยล่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> แซนวิชปลาย่าง กับน้ำสลัดฟักทอง (2 ขวบ++ )
5. ข้าวไข่เจียว เจียวไข่โดยใส่ผักต่างๆ ค่ะ เช่น คะน้าฝอย ใบตำลึง มะเขือเทศและแครอท ใส่ผักหลากหลายอย่างโดยหั่นชิ้นเล็กๆ ผสมรวมกัน ทานกับข้าวร้อนๆ เท่านี้ก็ทำให้อิ่มท้องนานและยังได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนอีกด้วย
♥ เมนูแนะนำ >> [เมนูอาหารเด็ก] ข้าวไข่เจียวโปเกม่อน พร้อมคุณประโยชน์จากไข่ >> ไข่ม้วนตับ (1 ขวบ++)
6. บะหมี่หรือข้าวผัด ให้เติมโปรตีนอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่และผักต่างๆ เช่น แครอทและถั่วผักยาวหรือผักคะน้าหั่นชิ้นเล็กๆ และตอกไข่ลงไปผัดเพิ่ม ทำไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เช้านำมาอุ่นก็จะได้เมนูอาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนแล้วค่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> บะหมี่ผักน้ำข้นกับปูอัด (1 ขวบ++) >> ไอเดียแต่งจาน 11 เมนูสุดน่ารัก (ได้กินแบบนี้หนูจะไม่ดื้อเลย)
ทั้งนี้ในการรับประทานอาหารเช้านั้น ไม่ควรทานอาหารประเภทข้าวแป้ง ที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว สำหรับอาหารประเภทซีเรียลต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะมีแป้งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ขอแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว ควรรับประทาน คู่กับนม และเพิ่มไข่ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุด และเสริมด้วยสลัดผักและผลไม้ด้วย ก็จะได้สารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย”
สำหรับเด็กที่รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อนั้น ส่วนใหญ่มักจะงดมื้อเช้าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ไม่มีเวลาพอสำหรับการเตรียมอาหารเช้า หรือบางคนงดอาหารเช้าเพราะต้องการลดน้ำหนัก เหตุผลนี้พบมากในวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดและเกิดผลเสียตามมา
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ลูกไม่ยอมกินข้าว แก้ไขได้อย่างไร?
- 7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
- มื้อเช้าแบบไหนถูกใจลูก ..มาดูกันค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : women.sanook.com , www.thaihealth.or.th , manager.co.th