โพสต์โดย สนุกดี ภาพ Vs คลิป บน 11 พฤษภาคม 2017
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : สนุกดี ภาพ Vs คลิป
จากคลิปจะเห็นได้ว่า ผู้เป็นแม่ไม่ได้ทันระวังเลย เมื่อลูกถูกเกี่ยวกระชากลงไปทำให้รถติดขัด ขับขี่ไปไม่ได้ จึงหันมาดูและพบว่าลูกน้อยได้ลงไปห้อยแขนติดกับล้อรถ จึงรีบหยุดรถแล้วลงมาช่วยดึงตัวลูกออกจากล้อทันที ซึ่งนับว่าโชคดีที่เด็กน้อยไม่เสียชีวิต แต่อย่างไรก็ได้รับบาดเจ็บอยู่ไม่น้อย
จากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงหลายๆ ครั้งดังตัวอย่างข้างต้น รวมถึงเหตุที่คาดการณ์ได้อีกหลาย ๆ ครั้ง เช่น เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ล้วนส่งผลให้หลายหน่วยงานแสดงความกังวลเกี่ยวกับการให้เด็กทารกโดยสารบนรถจักรยานยนต์เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่าง องค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ก็เคยออกคำแนะนำเรื่องการโดยสารรถจักรยานยนต์ว่า “ไม่แนะนำให้ทารกโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรมีการออกกฎหมายควบคุม” รวมถึง “ควรมีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนถึงหมวกนิรภัย ที่นั่งโดยสารที่ปลอดภัย ความเร็วที่เหมาะสม รวมถึงระบบยึดเหนี่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทารก” เรียกง่าย ๆว่า ควรจะหยุดใช้ไปก่อนจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยมากพอ
องค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เคยออกคำแนะนำเรื่องการโดยสารรถจักรยานยนต์ว่า “ไม่แนะนำให้ทารกโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรมีการออกกฎหมายควบคุม”
ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อย่างไรให้ปลอดภัย?
1. วัยทารก ไม่แนะนำให้นั่งรถจักรยานยนต์ ถึงแม้จะอุ้มไว้
อย่าลืมว่าผู้ที่อุ้มทารกต้องใช้มือของตัวเองหาที่จับ เมื่อซ้อนท้าย ทำให้มีโอกาสเสียสมดุล และมักจะมีอุปกรณ์พะรุงพะรัง เคยมีข่าวเด็กทารกเข้าไปติดในล้อรถเพราะผ้าห่อตัวถูกดูด ยิ่งเสี่ยงอันตรายมาก
2. วัยเด็กเล็ก ควรใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
โดยต้องมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้าและหลัง มีเบาะพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวที่แข็งแรง เลือกรถจักรยานยนต์ที่มีที่กั้นล้อรถป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า เพราะเท้าของเด็กไม่อยู่นิ่งมีโอกาสแกว่งไปมา และพลาดโดนล้อ และควรสวมหมวกนิรภัย สำหรับเด็กที่มีขนาดพอดี
3. วัยเด็กโต สอนให้ลูกนั่งรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
ซึ่งท่านั่งคร่อมจะปลอดภัยที่สุด หาที่จับให้มั่นคง ติดตั้งที่วางเท้าให้มีความยาวพอดีกับเด็ก และอย่าลืมสวมหมวกนิรภัยที่พอดี
อ่านต่อ >> “การเลือกขนาดของหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกน้อย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่