ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตราย...เสี่ยงตายกว่าที่คุณคิด - amarinbabyandkids

ระวัง! ให้ลูกน้อยนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตราย…เสี่ยงตายกว่าที่คุณคิด

event
ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์
ขอบคุณภาพจาก : http://www.7-percent.org

ลดเจ็บ ลดตาย หันมาใส่หมวกกันน็อค!!

ทั้งนี้การใส่หมวกกันน็อคเป็นการป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง แต่หากจะปลอดภัยจริงๆ นั้น เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรโดยสารรถมอเตอร์ไซด์ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนหนูน้อยวัยมากกว่า 2 ปี หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงค่ะ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง คุณพ่อคุณแม่ที่รู้ว่าเจ้าตัวน้อยของตนต้องเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซด์ ควรจะลงทุนเลือกหมวกันน็อคที่มีคุณภาพไว้ให้เจ้าตัวเล็ก ซึ่งการหลักการเลือกหมวกกันน็อคที่ดี จะต้องเลือกให้พอดีกับขนาดศรีษะของลูก ไม่ควรซื้อเผื่อโต เพราะอาจเป็นอันตรายต่อศรีษะและกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอของลูกได้ คุณควรพาลูกไปซื้อและลองหมวกกันน็อคด้วยกัน วิธีการลองคือ เมื่อสวมหมวกดีแล้ว ให้ลูกเหลือบตามองด้านบน ว่าเห็นขอบหมวกด้านหน้าหรือไม่ ถ้าไม่เห็นแสดงว่าหมวกลอยสูงเกินไป ต้องปรับสายรัดให้พอดี รวมทั้งถ้าก้มๆ เงยๆ แล้วหมวกหลุดก็ต้องปรับสายคาดใหม่ ถ้าปรับเท่าไรไม่พอดี ควรลองใบที่เล็กลง

ลูกซ้อนมอเตอร์ไซค์ ควรใช้ขนาดหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกน้อยไซส์ใด?

  • เด็กอายุ 2 – 4 ขวบ ขนาดหมวก 500 ม.ม.
  • เด็กอายุ 5 – 8 ขวบ ขนาดหมวก 530 – 540 ม.ม.
  • เด็กอายุมากกว่า 8 ขวบ ขนาดหมวก 570 – 580 ม.ม.

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงในการเลือกหมวกกันน็อค คือ

  • มีความแข็งแรงเคาะแล้วจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเพียงพลาสติกบางๆ เปลือกในมักเป็นโฟม แต่ต้องมีความแข็งและหนาเพียงพอที่จะดูดซับแรงกระแทกหากลองเอานิ้วกดูแล้วอ่อนนิ่มยุบง่ายตามแรงกด หมวกนั้นมักจะไม่ได้มาตรฐาน
  • สายรัดคาง ต้องแข็งแรง สายต้องยึดติดหมวกอย่างแน่นหนา ไม่หลุดง่ายเวลาออกแรงกระชาก หัวล็อคต้องแข็งแรง ใส่ง่ายถอดง่าย ล็อคแล้วลองกระชากดูว่าจะหลุดง่ายหรือไม่
  • ควรมีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) และที่เครื่องหมายจะมีชื่อบริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายอยู่ด้วยถ้ามาตรฐานปลอมมักมีแต่เครื่องหมายอย่างเดียว

ข้อคิดก่อนพา ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์

  • ถ้ามีลูกเล็กๆ ก็ไม่ควรพาออกไปไหน เพราะการโดนลมโดนฝุ่นมากก็ไม่ดี ถึงจะห่อผ้าก็อันตราย (ถ้าจำเป็นจริงๆ ต้องห่อผ้าให้ดีๆ เก็บชายผ้าให้เรียบร้อย หรือหากระเป๋าอุ้มลูกมาใส่ไว้ เพื่อให้คุณแม่ที่อุ้มมีมือยึดรถ หรือคนขับเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน)
  • สำหรับเด็กโตที่ต้องซ้อนท้ายไปโรงเรียน ก็ต้องจัดระเบียบการนั่งให้ดีๆ มีเครื่องป้องกัน อย่างหมวกกันน็อค แว่นตากันลม เสื้อขายาว ใส่กางเกงขายาว
  • ไม่นั่งซ้อนกันมากเกินไป เกินอันตรายขึ้นได้
  • ไม่พาสุนัขไปพร้อมเด็ก
  • สอนวิธีการนั่งที่ถูกต้องให้เด็ก
  • คนขับต้องขับชิดซ้ายอย่างระมัดระวัง และไปช้าๆ ไม่ต้องรีบ

ถึงแม้ว่าหลายคนจะตระหนักถึงความเสี่ยงของการให้เด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ แต่ว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทยก็ยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีพอที่จะทำให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงได้ เด็กๆ รวมถึงผู้ปกครองจึงยังจำเป็นต้องใช้จักรยานยนต์เป็นประจำ อย่างไรก็ตามหากปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ไม่ขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด สวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ ตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ก็จะพอลดความเสี่ยงลงได้บ้าง

แต่ทางที่ดีที่สุด! คงจะเป็นการให้ทารกและเด็กเล็กหลีกเลี่ยงการโดยสารจักรยานยนต์นั่นเองค่ะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ กุมารแพทย์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก และ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จากนิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือน มีนาคม 2017 Column : Kid Safety

เครดิต: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผู้จัดการออนไลน์96.5 FMvoice TVok nationsave the childrenPPTV

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up