แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกกินขนมโซเดียมเยอะจน ไตรั่ว!! - Amarin Baby & Kids
ไตรั่ว

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกกินขนมโซเดียมเยอะจน ไตรั่ว!!

Alternative Textaccount_circle
event
ไตรั่ว
ไตรั่ว

คุณแม่ท่านหนึ่งได้มาแชร์ประสบการณ์ลูกสาวตัวน้อย มีอาการ ไตรั่ว หมอบอกว่าเพราะกินขนมที่มีโซเดียมเยอะ อาการไตรั่วเป็นอย่างไร มีสาเหตุและการป้องกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกกินขนมโซเดียมเยอะจนไตรั่ว!!

จากเหตุการณ์ที่คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้มาแบ่งปันเรื่องราวในกลุ่มเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่บรรดาคุณพ่อคุณแม่ ที่มีลูกเล็กว่า หากเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ ได้แก่ อยู่ ๆ ลูกตาบวม ตัวบวม น้องฉี่เป็นฟองเลือด อย่าได้อยู่เฉย ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน ทางทีมแม่ ABK เห็นว่าเรื่องนี้มีประโยชน์จึงได้ขออนุญาตนำเรื่องราวมาแบ่งปัน โดยคุณแม่เล่าไว้ดังนี้ค่ะ

ไตรั่ว : อาการแรกเริ่ม ตาบวม ตัวบวม

ขออนุญาตมาแชร์ประสบการณ์ #และฝากเตือนลูกอ้วนอย่าอยู่เฉย

ลูกบ้านนี้เริ่มมีอาการ #ตาบวม เมื่อวันที่ 24ต.ค.64 แม่ก็ยังไม่เอะใจ เพราะคิดว่าลูกอ้วน พอผ่านไป 1-2 วัน #ขาเริ่มบวมบวมจนเห็นได้ชัด จนวันนั้นได้พาน้องไปที่อนามัยใกล้บ้านก่อนแต่คุณหมอไม่ตรวจอะไรเลยแล้วบอกว่าลูกเป็นภูมิแพ้ เเล้วให้ยามากิน พอผ่านไป ประมาณวันที่ 28-29 แม่รู้สึกว่ามันไม่ใช่เพราะ #ฉี่น้องเป็นฟองสีเลือดปน จนแม่กับตาตัดสินใจพาน้องไปคลีนิคแห่งหนึ่งในตัวจังหวัด แล้วคุณหมอบอกว่าน้องเสี่ยงเป็น #โรคหัว #โรคน้ำท่วมปอด #ไตรั่ว คุณหมอเลยส่งตัวลูกมาที่โรงบาลใกล้บ้าน ผลปรากฏว่าน้องเป็นไตรั่ว แล้วหมอเอ่ยขึ้นว่าทำไมมาช้าจัง แม่นี่ใจสั่นเลยค่ะ

คุณหมอให้งดทุกอย่างที่มีโซเดียม

คุณแม่ยังเล่าต่ออีกว่าน้องยังโชคดีที่ไม่ต้องผ่าตัด และขอให้งดทุกอย่างที่มีโซเดียมค่ะ

แต่หมอบอกโชคดีนะที่น้องยังไม่ถึงขั้นต้องผ่า นอนตรวจฉี่ตรวจเลือดตั้งเเต่วันที่ 30 ต.ค.64 จนถึงวันที่ 5 พ.ย.64 คุณหมอถึงจัดยา สเตียรอยด์มาให้ลูกกิน แต่วันที่ลูกกินลูกมีความดันสูง จนคุณหมอตกใจ ตื่นเช้ามาคุณหมอปล่อยกลับบ้านได้ แต่ให้งดขนมทุกชนิด และงดทุกอย่างที่มีโซเดียม

#สาเหตุ จากกินขนมที่มีโซเดียมเยอะ กินมาม่าดิบ และที่สำคัญคือลูกสาวไม่กินไข่ขาวค่ะ

คุณหมอบอกว่าโรคไตรั่วจะเจอในเด็ก 1-5 ขวบ

ปัจจุบันไตน้องกลับมาทำงานปกติเกือบจะ 100% แล้วค่ะ แต่การรักษาน้องใช้เวลา 1 ปี ถึงจะชัวร์ว่าน้องจะไม่กลับมาเป็นอีก

ไตรั่ว
แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกกินขนมโซเดียมเยอะจน ไตรั่ว!!

นับเป็นโชคดีของคุณแม่และน้องนะคะ ที่พาน้องไปรักษาได้ทันเวลา ยังไม่ต้องผ่าตัด และตอนนี้น้องปลอดภัยและอาการดีขึ้นมาก แต่คุณแม่ก็บอกว่า ยังต้องคอยสังเกตอยู่ และฝากบอกว่าขอแชร์เรื่องนี้ให้เป็นอุทาหรณ์กับคุณพ่อคุณแม่ทุกคนด้วยค่ะ

จากเหตุการณ์นี้ ทีมแม่ ABK จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการ ไตรั่ว ว่ามีสาเหตุจากอะไร มีอาการ อย่างไร และรักษาอย่างไรมาเพื่อคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ

โรคไตรั่ว

โรคไตรั่ว หรือโรคไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) คือ ภาวะของการอักเสบของไต เกิดจากความผิดปกติของไต เนื้อไตหนาจนไม่สามารถกรองโปรตีนได้ ทำให้ปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง ตัวบวม

สาเหตุของโรคไตรั่ว

สาเหตุของไตรั่ว มี 3 สาเหตุ หลักๆ คือ

  • สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ เนื้อไตหนาไม่สามารถกรองโปรตีนได้ หรือแข็งตัวเป็นแห่งๆ หรือเกิดการติดเชื้อที่ไต
  • สาเหตุจากโรคอื่น ที่มีผลต่อโรคไตรั่ว เช่น โรคหัวใจ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ
  • สาเหตุจากการใช้ยา หรือ สารเคมีบางชนิด เช่น เฮโรอิน ยารักษาโรคมะเร็ง ยาแก้ปวดข้อ ยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน

กลุ่มเสี่ยง

พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในเด็กอายุ 1-5 ปี

อาการของโรคไตรั่ว

อาการของโรคไตรั่ว ได้แก่ หากกดที่ขาจะยุบลงไป ปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะไม่รู้ตัว ส่วนอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไตรั่ว คือ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน ผมและเล็บเปราะ ผมร่วง ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมต่ำ ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายต่ำ ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น

การรักษาโรคไตรั่ว

การรักษาโรคนี้ เริ่มจากการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบระดับสารไข่ขาวในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด หลังจากทราบระดับสารในเลือดและปัสสาวะแล้ว จะทำให้รักษาได้ง่ายและตรงจุดขึ้น

การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ ให้ยาสเตียรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ให้ผู้ป่วยงดใช้ยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้  ถ้าพบว่าสารไข่ขาวในเลือดสูง แสดงว่าอาการดีขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยาขับปัสสาวะเพิ่ม แต่ถ้าการให้ยาไม่ได้ผล จะต้องเจาะเนื้อไตไปตรวจ

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรงอาจเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อน อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตรั่ว

เนื่องจากผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน น้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย ดังนั้น ต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมอาหาร โดยลดอาหารแต่ละมื้อลง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอล  ให้รับประทาน คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 ของพลังงานที่รับประทานทั้งหมด รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวาน ลดการกินอาการรสเค็ม รับประทานผักและผลไม้เป็นหลัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้น

 

โรคไตรั่ว เป็นแล้วรักษาได้ แต่การป้องกันไว้ก่อนจะเกิดอาการน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ลูกน้อยต้องทรมานนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

FB Group HerKid รวมพลคนเห่อลูก, กรมควบคุมโรค, HD

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ เสี่ยง!! ป่วยด้วย ภาวะเมทฮีโมโกลบิน

เคสจริง!อันตราย เมื่อลูกเป็น itp คือ โรคเกล็ดเลือดต่ำในเด็ก

ช่วยด้วย!แม่ร้องลูกเป็น โรคกอร์แฮม คนรู้จักน้อยวอนรักษา

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up