ลูก สำลัก เรื่องเล็กที่คร่าชีวิตได้ พ่อแม่ต้องรู้วิธีช่วย - Amarin Baby & Kids

ลูก สำลัก เรื่องเล็กที่คร่าชีวิตได้ พ่อแม่ต้องรู้วิธีช่วย

Alternative Textaccount_circle
event

สำลัก เรื่องใกล้ตัวที่ดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่หากช่วยไม่ทันอาจสูญเสียถึงขั้นตายได้ ขอเชิญชวนพ่อแม่มาเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกสำลัก รู้ไว้ปลอดภัยกว่า!!

ลูก สำลัก เรื่องเล็กที่คร่าชีวิตได้ พ่อแม่ต้องรู้วิธีช่วย!!

เด็ก ๆ มักชอบเอาของเข้าปาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก วัยเตาะแตะ ที่ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก เพราะเป็นวัยที่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านปากในทฤษฎีทางจิตวิทยา จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง โอกาสที่จะเกิดการ สำลักได้ ไม่เพียงแต่สิ่งของเท่านั้นที่เราต้องระวังเวลาลูกนำเข้าปากมาอม แต่ยังหมายรวมถึงอาหารชิ้นใหญ่ และทุกสิ่งที่พบใกล้เคียง เช่น ฝาปากกา หรือเหรียญ เป็นต้น ของชิ้นเล็กเหล่านี้อาจทำให้เด็กหายใจไม่ออก เมื่อวัตถุหลุดเข้าไปในทางเดินหายใจของเด็ก (หลอดลม) ทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นอาจรุนแรงถึงตายได้ การสำลักสามารถปิดกั้นการไหลของอากาศ และตัดออกซิเจนไปยังสมอง ซึ่งอาจทำให้สมองเสียหายถาวร หรือเสียชีวิตได้

ลูก สำลัก อาหาร
ลูก สำลัก อาหาร

อาการเตือน เมื่อลูกอาหารติดคอจนสำลัก

  • สำลัก หรือมีอาการไออย่างรุนแรง และต่อเนื่อง
  • หายใจไม่ออก หรือหายใจเสียงดังเหมือนคนเป็นโรคหอบหืด
  • พูดไม่มีเสียงออกมา หรือพูดได้ลำบาก
  • หายใจเร็วผิดปกติ
  • หน้าซีด เขียว
  • จับคอตัวเอง ชี้ไปที่คอ หรือเอามือกุมรอบคอ

ประเมินสถานการณ์ด่วน! เมื่อลูกสำลัก

เหตุใดเราจึงต้องประเมินสถานการณ์ ในเวลาฉุกเฉินเช่นนี้ เนื่องจากจะมีความแตกต่างกันไปในขั้นตอนการช่วยเหลือ ดังนี้

เมื่อลูก สำลักควรทำอย่างไร
เมื่อลูก สำลักควรทำอย่างไร

กรณีเด็กโต 1- 8 ปี 

แบบรู้สึกตัว ให้ตรวจดูอาการทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น ร้องไม่มีเสียง ไอไม่ออก เป็นต้น โดยถามว่าพูดได้ไหม ให้ลงมือช่วยเมื่อเห็นว่า พูดไม่มีเสียง

  • ถ้าไอได้เองพยายามกระตุ้นให้เด็กไอแรง ๆ จะช่วยให้สิ่งอุดกั้นหลุดออกมา เป็นวิธีที่ดีกว่าการกระทุ้งจากข้างหลัง
  • ถ้าไอเองไม่ได้ ให้ดันใต้กระบังลม 5 ครั้ง ทำต่อเนื่องจนสิ่งอุดกั้นหลุดออก

วิธีช่วยเหลือ ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี กับสะดือ (Heimlich maneuver)

  • วางนิ้วโป้งตรงลิ้นปี่ นิ้วกลางตรงสะดือ นิ้วชี้อยู่ตรงกลาง
  • มืออีกข้างทำกำปั้นวางตรงโคนนิ้วชี้ให้ด้านนิ้วโป้งแนบลำตัว
  • ดึงมือที่หาตำแหน่งออกมากุมกำปั้นไว้
  • ให้ก้มตัวลง ผู้ช่วยเหลือกางข้อศอกออก
  • ห้ามใช้นิ้วพยายามล้วงสิ่งอุดกั้นออก

    การช่วยเหลือ เด็ก สำลัก
    การช่วยเหลือ เด็ก สำลัก

แบบหมดสติ

  1. ประเมินการตอบสนอง และการหายใจ หากไม่มีการตอบสนอง และไม่หายใจ
  2. ตะโกนขอความช่วยเหลือ
  3. ให้ทำการปฎิบัติการกู้ชีพจนความช่วยเหลือมาถึง
  4. กดหน้าอก 30 ครั้ง
  5. เป่าปาก 2 ครั้ง
  6. หากทรวงอกไม่ขยาย มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับเป่าปาก 2 ครั้ง ต่อเนื่องจนกว่าจะมองเห็นสิ่งอุดกั้นในปากชัดเจน จึงใช้นิ้วล้วงออก

    การช่วยเหลือ เด็ก สำลักแบบไม่รู้สึกตัว
    การช่วยเหลือ เด็ก สำลักแบบไม่รู้สึกตัว

กรณีเด็กทารก 1 เดือน ถึง 1 ปี 

แบบรู้สึกตัว

  • สังเกตเด็กร้องไห้ได้เบา ๆ ใบหน้าและริมฝีปากซีด เขียว
  • มองดูในปาก ถ้ามองเห็นสิ่งอุดกั้น ให้ใช้นิ้วล้วงออก
  • ถ้ามองไม่เห็น ให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้
  1. ตบหลังเบา ๆ 5 ครั้ง ตรงกึ่งกลางระหว่าง สะบักใช้สันมือ
  2. กดหน้าอก 5 ครั้ง ตรงกึ่งกลางหน้าอกด้วย 2  นิ้วมือ
  3. ทำการกดหลัง 5 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งอุดตันหลุดออก

    การช่วยเหลือ ทารกสำลัก
    การช่วยเหลือ ทารกสำลัก

แบบหมดสติ

  • ประเมินการตอบสนอง และการหายใจ
  • ตะโกนขอความช่วยเหลือ
  • กดหน้าอก 30 ครั้ง
  • เป่าปาก 2 ครั้ง
  • ทำการกดหน้าอก สลับเป่าปาก ต่อเนื่องจนกว่าจะมองเห็นสิ่งอุดกลั้นในปากชัดเจน จึงใช้นิ้วล้วงออก

ฉันควรพาลูกไปพบแพทย์ หรือไปที่ห้องฉุกเฉินเมื่อใด

หลังจากเหตุการณ์สำลักครั้งใหญ่ เด็กจำเป็นต้องไปรับการรักษาพยาบาลต่อ เมื่อเด็กมีอาการต่อไปนี้

  • เด็กมีอาการไอเป็นเวลานาน น้ำลายไหล หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงหวีด กลืนลำบาก หรือหายใจลำบาก
  • หน้าเด็กเปลี่ยนเป็นเขียว อ่อนแรง หรือหมดสติในระหว่างเหตุการณ์ แม้ว่าดูเหมือนว่าเขาจะหายดีแล้วก็ตาม ก็ควรไปตรวจละเอียดอีกครั้ง
  • พ่อแม่สังเกตได้ว่าเด็กกลืนสิ่งของ เช่น ของเล่น หรือถ่านไฟฉาย เป็นต้น ลงไป

    วิธีช่วยเหลือ ทารก สำลัก แบบหมดสติ
    วิธีช่วยเหลือ ทารกสำลักแบบหมดสติ

วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

คุณอาจต้องใช้วิธีนี้หากเด็กที่สำลักไม่มีชีพจร (การเต้นของหัวใจ) และไม่หายใจ:

  1. ใช้ส้นมือกดส่วนล่างของกระดูกหน้าอกของเด็ก ใต้เส้นหัวนม ดันเข้าไปประมาณ 2 นิ้ว ทำสิ่งนี้อย่างรวดเร็ว 30 ครั้ง การดำเนินการนี้ควรใช้เวลาประมาณ 20 วินาที
  2. ให้การช่วยหายใจ 2 ครั้ง ค่อยๆ ยกคางของเด็กขึ้นด้วยมือข้างหนึ่งแล้วเอียงศีรษะไปข้างหลัง วางปากของคุณเหนือปากของเด็ก บีบจมูกแล้วพ่นลมหายใจเข้าปากของเด็ก 2 ครั้ง การหายใจแต่ละครั้งควรใช้เวลา 1 วินาที ดูเพื่อดูว่าหน้าอกของเด็กเพิ่มขึ้นหรือไม่
  3. ถ้าหน้าอกไม่ขึ้น ให้กดหน้าอก 30 ครั้ง มองเข้าไปในปากของเด็กเพื่อหาสิ่งของ นำวัตถุออก ระวังอย่าดันกลับเข้าไปในลำคอ หากคุณมองไม่เห็นสิ่งของ อย่าเอานิ้วเข้าปากเด็ก
  4. หากเด็กไม่เริ่มหายใจ ให้ดันหน้าอกต่อ 30 รอบ ตามด้วยการหายใจเร็ว 2 ครั้ง ทำเช่นนี้จนกว่าเด็กจะหายใจได้เอง

วิธีป้องกัน…ไม่ให้อาหารติดคอ

  1. เก็บอาหารชิ้นเล็กๆ เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ลูกอม ข้าวโพดคั่ว องุ่น ลูกเกด ขนมเยลลี่ เป็นต้น ให้พ้นมือเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการที่เด็กอาจจะหยิบกินโดยที่ไม่ได้อยู่ในสายตาและความดูแลของพ่อแม่
  2. ควรสอนให้เด็กเคี้ยวอาหารช้า ๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่กินอาหารขณะนอนราบ รวมถึงไม่ให้พูดหัวเราะ หรือวิ่งเล่นขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก
  3. ไม่ควรให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น มีขนาดกลม ลื่นและแข็ง เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมไปถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีเม็ดขนาดเล็ก ควรเอาเม็ดออกพร้อมตัดแบ่งเป็นคำเล็กพอที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้ เนื่องจากเม็ดของผลไม้มีความลื่น และมีโอกาสหลุดเข้าหลอดลมได้ง่าย

เป็นอย่างไรบ้าง กับวิธีการปฐมพยาบาลกรณีที่ ลูกอาหารติดคอ หรือมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ จนทำให้สำลักได้ แม้อาจฟังดูไม่น่าจะเกิดได้บ่อย แต่อย่างไรก็ตาม เราก็คงเห็นในข่าวบ่อย ๆ แล้วว่า การสำลักนั้น เกิดขึ้นได้ง่ายเพียงใด ในขณะที่เรากำลังนั่งรับประทานอาหารกันอย่างเอร็ดอร่อยนั้น เพียงเสี้ยววินาทีที่เกิดการสำลักอาหาร จนมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ เรามีเวลาเพียงแค่เล็กน้อยในการแก้ไขสถานการณ์ เพราะหากเลยไปไม่สามารถแก้ไขได้ทันอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม ดังนั้นเราจะเห็นได้บ่อยครั้งที่คนรอบตัวที่มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถทำให้ผู้ประสบเหตุสามารถรอดพ้นวิกฤตอันตรายมาได้ แล้วหากผู้ประสบเหตุเป็นลูกของคุณล่ะ!

ข้อมูลอ้างอิง และรูปภาพประกอบจาก chulalongkornhospital.go.th/www.paolohospital.com/www.tmwa.or.th/ www.youtube.com/user/RamachannelTV

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

การปฐมพยาบาลและทำ CPR เมื่อ อาหารติดคอ ลูกน้อย

ลูก บกพร่องทางการได้ยิน ดูยังไง แก้อย่างไร

พ่อแม่ต้องรู้!! อาการโอไมครอนในเด็ก เจอสัญญาณต่อไปนี้ พบแพทย์ทันที

150 ชื่อลูกสาว เพราะ ๆ เรียกแล้วโดนใจ ความหมายดี๊ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up