ลูกเป็นปอดอักเสบ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ปอดบวม” ซึ่งมีลักษณะจากการอักเสบของเนื้อปอด ที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงนับเป็นโรคร้ายที่พ่อแม่ควรรีบหาทางป้องกัน และวิธีการป้องกันให้แก่ลูกน้อย
ผู้เขียนเชื่อว่าสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ทุกคน คงไม่ได้หวังอะไรจากลูกมาก นอกจากเห็นลูกเป็นคนแข็งแรง สุขภาพดี แต่เวลาที่ลูกเจ็บป่วยทีไร พ่อแม่ใจแทบสลายทุกที
ทั้งนี้เพราะอาการป่วย เมื่อ ลูกเป็นปอดอักเสบ นั้น ถือเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของ โรคติดเชื้อในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปีของเด็กไทยคือ โรคปอดอักเสบ ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลัก 2 กลุ่ม คือ ปอดอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และโดยทั่วไปพบปอดอักเสบจากการติดเชื้อมากกว่า
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักเจ้าโรคนี้ และเมื่อ ลูกเป็นปอดอักเสบ จะได้รับมือทัน พร้อมรู้จักป้องกันไม่ให้ ลูกเป็นปอดอักเสบ ได้
ลูกเป็นปอดอักเสบ เพราะ?
สาเหตุที่ทำให้ ลูกป่วยเป็นปอดอักเสบ เกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่โดยส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ***ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กนั้นจะพบว่ามีสาเหตุจาก การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกัน
โดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อ Influenza (ไข้หวัดใหญ่) เชื้อ parainfluenza ส่วนผู้ป่วยปอดบวมในเด็กที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุนั้น เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus Pneumoniae มากที่สุด เชื้อแบคทีเรียทีเป็นรายอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่เชื้อ Haemophilus Influenza Type B หรือ ฮิบ,เชื้อ Staphylococcus Aures หรือ กลุ่มเชื้อ Mycoplasma Pneumonia, Chlamydia Pneumonia
การติดต่อของโรคปอดอักเสบ
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ใน “น้ำลายและเสมหะ” ของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายได้จากการไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นต้น
อาการ ปอดอักเสบ
- เมื่อ ลูกเป็นปอดอักเสบ อาการส่วนมากในเด็กมักไม่มีลักษณะเฉพาะ แต่จะมีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว รับประทานนมหรือดูดนมลำบาก จมูกบาน ซี่โครงบาน อกบุ๋ม ซึม และอาจมีอาการตัวเขียวได้
- ในบางรายอาจร้องกวน งอแง กระสับกระส่ายและหน้าสั่น ในบางรายที่มีอาการไม่เฉพาะเจาะจง
- ในเด็กโตจะมีอาการเจ็บหน้าอกตลอดเวลาหายใจเข้าออก
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากปอดอักเสบ
- การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีที่ติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย
- ภาวะช็อก กรณีติดเชื้ออย่างรุนแรง
- ภาวะมีน้ำหรือเป็นหนองในเยื้อหุ้มปอด
- ภาวะมีฝีในปอด