ตารางวัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด–อายุ 15 ปี ประจำปี 2565 - Amarin Baby & Kids
ตารางวัคซีน

ตารางวัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด–อายุ 15 ปี ประจำปี 2565

Alternative Textaccount_circle
event
ตารางวัคซีน
ตารางวัคซีน

ตารางวัคซีน คู่มือสำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง เตรียมตัวนำเด็กไปรับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน ป้องกันลูกน้อยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ตารางวัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด–อายุ 15 ปี ประจำปี 2565

การฉีดวัคซีนจำเป็นมากสำหรับเด็กทุกคน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจึงต้องนำเด็กไปฉีดวัคซีนจำเป็น และวัคซีนอื่นๆ ที่อาจให้เสริม หรือทดแทน ตาม ตารางวัคซีน ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ที่ทาง ทีมแม่ ABK นำมาฝากนี้นะคะ เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะป่วยเป็นโรคต่างๆ ลดความพิการและลดการเสียชีวิต ช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการที่สมวัย

ฉีดวัคซีน
ฉีดวัคซีน

ตารางวัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด–อายุ 15 ปี ประจำปี 2565

วัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กทุกคน
วัคซีน แรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 9-12 เดือน 18 เดือน 2 ปี 4-6 ปี 11-12 ปี
บีซีจี (BCG) BCG
ตับอักเสบบี(HB) HB1 (HB2) DTwP-HB-Hib-1 DTwP-HB-Hib-2 DTwP-HB-Hib-3
คอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) DTwP กระตุ้น 1 DTwP กระตุ้น 2 Td และ ทุก 10 ปี
ฮิบ (Hib)
โปลิโอชนิดกิน (OPV) OPV1 OPV2+IPV OPV3 OPV กระตุ้น 1 OPV กระตุ้น 2
โรต้า (Rota) Rota1 Rota2 (Rota3)
หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) MMR1 MMR2
ไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE) JE1 JE2
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) Influenza ให้ 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ในครั้งแรก
เอชพีวี (HPV) เด็กหญิง ประถม 5, 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
ฉีดวัคซีนตามกำหนด
ฉีดวัคซีนตามกำหนด
วัคซีนอื่นๆ ที่อาจให้เสริม หรือทดแทน
วัคซีน 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 12-15 เดือน 18 เดือน 2 ปี 4 ปี 6 ปี 9 ปี 11-12 ปี 15 ปี
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน- ชนิดไร้เซลล์ (DTaP, Tdap TdaP) ตับอักเสบบี (HB) โปลิโอชนิดฉีด (IPV) (Hib) DTaP-HB-IPV-Hib1 DTaP-(HB)-IPV-Hib2 DTaP-HB-IPV-Hib3 Dtap-IPV-(Hib4) กระตุ้น 1 DTaP-IPV หรือ Tdap-IPV หรือ TdaP กระตุ้น 2 Tdap หรือ TdaP ต่อไป Td หรือ Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกด (PCV) PCV1 PCV2 (PCV3) PCV4
ไข้สมองอักเสบเจอี (Inactivated JE) JE1, JE2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และ JE3 อีก 1 ปี
ตับอักเสบเอ (HAV) HAV ชนิดเชื้อไม่มีชีวิต ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน ชนิดเชื้อมีชีวิต ฉีดครั้งเดียวเมื่ออายุ 18 เดือนขึ้นไป
อีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวม หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV) VZV1 (หรือ MMRV1) VZV2 (หรือ MMRV2)
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) Influenza ให้ปีละครั้ง (ในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีให้ 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ในครั้งแรก)
เอชพีวี (HPV) HPV 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน
ไข้เลือดออก (DEN) DEN 3 เข็ม 0, 6 และ 12 เดือน
พิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 7 วัน (หรือ 21 วัน)

ลืมพาลูกไปรับวัคซีนตามกำหนด

เนื่องด้วยภาระที่มากมายของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง อาจทำให้ลืมการรับวัคซีนของเด็กตามกำหนด ทั้งนี้สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนย้อนหลังได้ เช่น ในกรณีที่ต้องให้วัคซีนมากกว่า 1 ครั้ง แต่ไม่ได้พาไปตามเวลานัดในครั้งที่ 2 ทำให้เลยกำหนดนัดไป สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนต่อได้เลย โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่ ทั้งนี้วัคซีนทุกชนิด หากไม่สามารถเริ่มตามกำหนดได้ สามารถเริ่มฉีดได้ทันทีที่พบว่ายังไม่ได้เริ่มฉีดครั้้งแรก

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนทุกชนิด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวด บวม บริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำๆ ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ร่างกายกำลังสร้างภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนแล้ว

อาการแพ้หลังฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนทุกชนิด มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้ได้แม้จะน้อยมากก็ตาม  ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการของเด็ก หลังฉีดวัคซีนแล้ว 30 นาที ไปจนถึง 2 – 3 วัน หากมีไข้ขึ้น งอแง ไม่สบายตัว เกิดความผิดปกติรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ข้อควรปฏิบัติในการพาลูกไปฉีดวัคซีน

  • นำสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนไปด้วยทุกครั้ง
  • ไม่ควรฉีดวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ยกเว้นเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้ สามารถฉีดวัคซีนได้
  • หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ควรกลับบ้านในทันที ควรรอดูอาการอย่างน้อย 30 นาที เพื่อดูว่ามีอาการแพ้ยาหรือไม่
  • หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา แพ้อาหาร เช่น มีอาการแพ้ไข่แบบรุนแรง แจ้งกุมารแพทย์ หรือพยาบาลให้ทราบ

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองอย่าละเลยที่จะนำเด็กไปรับวัคซีนตาม ตารางวัคซีน ที่ ทีมแม่ ABK นำมาฝากนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รู้เร็วยิ่งดี! ปอมเปย์ โรคทางพันธุกรรมที่เจอตั้งแต่เป็นทารก

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้

เช็คที่นี่!! 6 โรคผิวหนังในหน้าร้อน ที่ต้องระวัง

เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูกนิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://pidst.or.th, https://www.nakornthon.com, https://www.bangkokhospital.com, https://www.paolohospital.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up