โรคหัดในเด็ก กับอาการแทรกซ้อนที่ต้องระวัง!
อย่างที่เกริ่นให้คุณพ่อคุณแม่ทราบกันไปในเบื้องต้นแล้วว่าโรคหัดนั้นสามารถติดต่อกันได้เพียงแค่อยู่คลุกคลี หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคนี้ และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ยังมีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่แข็งแรง เมื่อเป็นหัดแล้วอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ก็คือ
1. ทางระบบทางเดินหายใจ คือ หูส่วนกลางอักเสบ (otitis media), หลอดลมอักเสบ croup และปอดอักเสบ
2. ทางระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ
3. สมองอักเสบพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต
4. ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้มีตาบอด[1]
และสำหรับโรคหัดในเด็ก ส่วนใหญ่แล้วจะให้การรักษาอาการของโรค ดังนี้…
- ให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว ให้ยาแก้ไอที่เป็นยาขับเสมหะได้เป็นครั้งคราว
- ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ นอกจากรายที่มีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบหูอักเสบ
- ให้อาหารอ่อน ให้วิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ องค์การอนามัยโลกและ unicef แนะนำให้วิตามินเอแก่เด็กที่เป็นหัดทุกรายในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการขาดวิตามินเอสูง และอัตราป่วยตายของโรคหัดเกิน 1% เนื่องจากผลของการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กที่เป็นหัดจะช่วยลดอัตราตายจากหัดลงได้[2]
บทความแนะนำ ไข้ดำแดง คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน พ่อแม่ต้องรู้
คุณพ่อคุณแม่เตือนไว้เสมอว่า หากลูกเล็กๆ หรือคนอื่นๆ ในครอบครัวป่วยเป็นหัด สิ่งที่ต้องทำคือการแยกคนป่วยออกจากคนอื่นในบ้านอย่างน้อย ประมาณ 4 วัน โดยมากแล้วมักจะพักรักษาอาการจนหายเป็นปกติที่โรงพยาบาล เพื่อจะได้รับการดูแลรักษาอาการให้ทุเลา จนหายป่วยดีแล้ว จึงค่อยกลับมาพักฟื้นร่างกายต่อที่บ้านค่ะ
อ่านต่อ การป้องกันโรคหัดที่ดีที่สุดต้องให้ลูกได้รับฉีดวัคซีน คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่