การป้องกันสุขภาพลูกจากโรคหัด ต้องให้ได้รับฉีดวัคซีนนะ!
การดูแลสุขภาพของลูกให้ห่างไกลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมให้สุขภาพของลูกๆ ดีได้ด้วยการให้ทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด หลังจากนั้นก็ให้ทานอาหารตามวัยที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ที่สำคัญต้องให้ลูกได้รับวัคซีนป้องกันโรคด้วย ที่สามารถรับได้ต้องแต่วัยทารกแรกเกิดเป็นต้นไปจนถึงอายุ 15 ปี หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้สำหรับวันซีนของเด็กไทยค่ะ
วัคซีนหัด-เยอรมัน-คางทูม ต้องได้รับอย่าให้ลูกพลาดเด็ดขาด โดยเริ่มที่…
- ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 ½ ปี ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อย อาจให้ลูกฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน และฉีดครั้งที่ 2 อายุ 2 ½ – 4 ปี
- ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป ในกรณีที่เข็มแรกได้รับก่อนอายุ 9 เดือนให้ฉีดซ้ำเข็มที่ 2 ที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 3 ที่อายุ 2 ½ -4 ปี
- ในกรณีที่ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว และเกิดการระบาดของโรคขึ้น เข็มที่ 2 สามารถให้ก่อนอายุ 2 ½ ปีได้ แต่ต้องให้ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 2 ½ – 4 ปี แทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็ม พบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน
- การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนโด๊สแรกมีโอกาสเกิดการชักจากไข้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR และ VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน
บทความแนะนำ Update! ตารางวัคซีน ประจำปี 2560 สำหรับเด็กไทย
ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้มากค่ะ และการป้องกันโรคหัดในเด็กที่ได้ผลดีที่สุด คือ การพาเด็กๆ ไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ 2 ครั้ง ส่วนพ่อแม่ รวมทั้งผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนหัดมาก่อน ก็สามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้เช่นกันค่ะและหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหัดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง
ไข้เลือดออกเดงกี โรคระบาดที่มากับฤดูฝน
โรคมือเท้าปาก สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ถูกต้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
[1],[2]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข