เตือนพ่อแม่ โรคหัดในเด็ก ระบาดหนักในเด็กแรกเกิด - 4 ปี - amarinbabyandbaby
โรคหัดในเด็ก

เตือนพ่อแม่ระวัง! โรคหัดในเด็ก ระบาดหนักในเด็กแรกเกิด – 4 ปี

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหัดในเด็ก
โรคหัดในเด็ก

 

วิธีการป้องกัน

  • โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดซึ่งมีทั้งชนิดเดียว (Measles vaccine) และวัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์ป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งในบ้านเราแนะนำให้ฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุได้ 9-12 เดือน และให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุได้ 4-6 ปี และไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก ซึ่งภูมิคุ้มกันต้านทานโรคคางทูมจะคงอยู่ไปได้ตลอดชีวิต แต่ในกรณีที่มีการระบาดเกิดขึ้น สามารถฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6-9 เดือน และควรฉีดซ้ำอีก 2 ครั้ง เมื่ออายุได้ 12 เดือน และ 4-6 ปี (เด็กที่เคยฉีดวัคซีนมาเพียง 1 เข็ม ซึ่งปกติจะต้องฉีด 2 เข็ม)
  • ในผู้หญิงที่ยังไม่เคยเป็นหัดควรฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่ก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์
  • ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ คือ ระยะตั้งแต่ 4 วันก่อนผื่นขึ้นจนกระทั่ง 4 วันหลังเริ่มมีผื่นขึ้น ถ้าไม่เคยเป็นโรคหัดและไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันหัดมาก่อนควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
    • ถ้าสัมผัสมาภายใน 5 วัน แพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันหัดให้ทันที ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี แพทย์จะฉีดอิมมูนโกลบูลิน ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานร่วมด้วย และฉีดวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุได้ 15 เดือน
    • ในเด็กที่มีอายุเกิน 1 ปี และสัมผัสมานานเกิน 5 วัน แพทย์จะฉีดวัคซีนและแอมมูนโกลบูลิน และฉีดวัคซีนซ้ำในอีก 5 เดือนต่อมา
  • สำหรับช่วงไหนที่มีการระบาดเกิดขึ้นหรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคหัด ควรปฏิบัติดังนี้
    • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง โรงหนัง เป็นต้น
    • หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาด หรือชโลมมือด้วยแอลกอฮอล์เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมาจากการสัมผัสถูกเสมหะของผู้ป่วย และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะไชจมูกถ้ายังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
    • อย่าเข้าใกล้หรือนอนรวมกับผู้ป่วย แต่ถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
    • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ ของเล่น เครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสมือกับผู้ป่วยโดยตรง
    • ผู้ป่วยควรแยกตัวออกห่างจากผู้อื่น ไม่นอนปะปนหรืออยู่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ส่วนเวลาที่เข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่กันมาก ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง

ทราบกันอย่างนี้แล้ว บ้านไหนมีลูกเล็กเด็กแดง ระวังกันหน่อยนะคะ … ที่สำคัญอย่าลืมปลูกฝังให้ลูกล้างมือกันบ่อย ๆ ด้วยน้ำกับสบู่เป็นประจำทุกวันนะคะ

เครดิต: สสส. และ MedThai

อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up