เมื่อลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก คัดแน่นจมูก ซึ่งนอกจากการล้างจมูกในเด็กเล็กที่ช่วยบรรเทาการคัดจมูกแล้ว ยาลดน้ำมูก ก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สามารถช่วยลูกน้อยได้ …แต่คุณแม่ต้องรู้ผลข้างเคียงด้วยนะคะ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งภัยที่แฝงมากับ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้นี้ หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยได้
ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง!
อาการเป็นหวัด คัดแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูก ทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว ดูดนมได้ไม่ค่อยดี งอแงหงุดหงิด นอนไม่ได้ การกำจัดน้ำมูกในจมูกจะช่วยให้ลูกน้อยสบายขึ้น จมูกโล่ง ไม่อึดอัดคัดแน่น และลดการแพร่เชื้อ
ลักษณะของน้ำมูก
ก่อนที่คุณแม่จะใช้ ยาลดน้ำมูก กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่รู้ก่อนว่า น้ำมูกของลูกเป็นแบบใด เพื่อที่จะได้ซื้อยาได้ถูกต้อง ซึ่งน้ำมูกไหลที่มีลักษณะใส เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
“น้ำมูกไหลจากไข้หวัด” ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดอาการของไข้หวัดได้ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัส รวมทั้งมีการทำงานของต่อมภายในโพรงจมูกให้มีการหลั่งน้ำมูก ทำให้ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกใสๆ ตลอดทั้งวัน แต่เมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เองใน 3-4 วัน
⇒ Must read : สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดน้ำมูกไหลได้คือ “น้ำมูกไหลจากการแพ้” หรือ ภูมิแพ้ ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น ร่างกายจึงตอบสนองต่อสารที่แพ้ด้วยการหลั่งฮีสตามีน (histamine) ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มีผื่นคัน หายใจลำบาก คันจมูก รวมทั้งน้ำมูกไหล อาการจึงเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ขึ้นกับระยะเวลาที่ได้สัมผัสกับสารที่แพ้นั่นเอง
วิธีการระบายน้ำมูกให้ลูก
ทั้งนี้วิธีการระบายน้ำมูกในจมูกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก อาการและการอุดตันของรูจมูก ความเหนียวและปริมาณของน้ำมูก ได้แก่…
1. การสั่งน้ำมูก เหมาะกับเด็กโต ที่น้ำมูกใส ไม่เหนียวข้น ปริมาณไม่มาก
2. การเช็ดน้ำมูก เหมาะกับเด็กเล็ก โดยใช้ไม้พันสำลี จุ่มน้ำเกลือแล้วสอดเข้าไปเช็ดรูจมูกทีละข้าง น้ำมูกจะติดปลายไม้พันสำลีออกมา
3. การดูดน้ำมูก ใช้เมื่อเด็กสั่งน้ำมูกเองไม่ได้ มี 2 วิธี คือ ดูดด้วยลูกยางแดง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกใส ไม่เหนียว ปริมาณไม่มาก และดูดด้วยเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก เช่น MU-TIP หรือ สายดูดน้ำมูก (Suction Catheter)
อ่านต่อ >> “วิธีการระบายน้ำมูก และการใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กเล็ก!” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่