ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ! แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง - amarinbabyandkids
ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ! แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง

event
ยาลดน้ำมูก
ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก

วิธีการระบายน้ำมูกให้ลูก (ต่อ)

4. การหยอดน้ำเกลือ เหมาะกับเด็กที่มีน้ำมูกข้นหรือแห้งกรังในจมูก โดยหยอดน้ำเกลือเข้าในรูจมูกข้างละ 1-2 หยด เพื่อให้น้ำมูกอ่อนตัวและไหลลงคอ ทำให้จมูกโล่งขึ้น อาจให้เด็กสั่งน้ำมูกตามร่วมด้วย ในกรณีเด็กทารก ไม่ควรหยอดน้ำเกลือทิ้งไว้โดยไม่เช็ดน้ำมูกหรือใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก เพราะน้ำมูกที่แห้งจะพองตัวและอุดรูจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก

⇒ Must read : วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
⇒ Must read : รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหนดี!

5. การพ่นจมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับกรณีปริมาณน้ำมูกน้อย และไม่เหนียว

6. การล้างจมูก เป็นการขจัดคราบน้ำมูกที่ติดอยู่ในโพรงจมูก ทำให้น้ำมูกเหนียวน้อยลง ทำให้การระบายน้ำมูกในโพรงจมูกดีขึ้น บรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล และระคายคอได้

7. การรับประทาน ยาลดน้ำมูก เพื่อบรรเทาอาการน้ำมูกไหล

ซึ่งสำหรับวัยทารก หรือเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกไม่เป็น การกินยาลดน้ำมูก จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการหวัด แพ้อากาศ และลดน้ำมูก แต่เมื่อคุณพ่อคุณแม่ไปซื้อที่ร้านยา กลับกลายเป็นว่าได้ยาแก้แพ้มาแทน อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเกิดข้อสงสัยว่ายาแก้แพ้จะบรรเทาอาการน้ำมูกไหลให้ลูกน้อยได้อย่างไร? และยาแก้แพ้ชนิดง่วงและไม่ง่วงจะใช้อะไรดี?

ขอบคุณข้อมูลจาก : blog.samitivejhospitals.com

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

การรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
ด้วย ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก

ในการรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี ทั้งชนิดที่ต้องใช้ยาและชนิดที่ไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ยาที่ใช้ในการรักษา อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจาม มี 2 กลุ่มใหญ่

1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines)
2. ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)

สำหรับยาแก้แพ้ (antihistamine)

คือ ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนซึ่งหลั่งเมื่อเกิดอาการแพ้ ยาในกลุ่มนี้จึงถูกเรียกสั้นๆ ว่า ยาแก้แพ้ ซึ่งเป็นทางเลือกแรกๆที่จำเป็นต้องใช้ยา เพราะมีการใช้กันมานาน โดยในปัจจุบัน มีอยู่หลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มดั้งเดิม มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง เช่น คลอเฟนิรามีน  บรอมเฟนิรามีน
  • กลุ่มใหม่ ที่ง่วงน้อยที่สุด ถึงไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาลอราทาดีน เซติไรซีน

สำหรับยาแก้แพ้กลุ่มแรก

ถึงแม้นว่าจะเป็นยาเก่าก็ตาม แต่เป็นยาที่ใช้รักษาอาการเหล่านี้ได้ผลดี ให้ผลเร็วในการลดอาการน้ำมูกไหล คันจมูก จาม และบรรเทาอาการคันตา และลดผื่นคันหรือลมพิษที่ปรากฎทางผิวหนังได้

ข้อควรระวังที่สุดของยากลุ่มนี้ ก็คือมีผลข้างเคียง >> จะทำให้ลูกซึมลง หรือง่วงนอนได้บ้าง แต่ไม่ได้เกิดกับเด็กทุกคน และสามารถบรรเทาได้ ด้วยการให้ยาภายหลังอาหารเพื่อบรรเทาอาการง่วงนอนนี้ และยังเหมาะสำหรับการให้กับเด็กตอนก่อนนอน ผลข้างเคียงที่จะกลับมาช่วยทำให้ให้ลูกง่วงนอน หลับเร็วขึ้น และนอนได้ยาวนานมากขึ้น ซึ่งระหว่างหลับนี้ ภูมิต้านทานในร่างกายเด็กจะฟื้นตัวได้เร็ว ทำให้ตื่นมาแล้วอาการหวัดที่ว่ามาก็จะหายเร็วขึ้น

นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังมีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นๆ คือได้ผลเพียงระยะเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง ทำให้คุณแม่ต้องให้ยาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง

***ที่ต้องใส่ใจอีกอย่างคือ มีผลข้างเคียง ได้แก่ ทำให้ปากแห้ง คอแห้งได้ และเรื่องสุดท้ายที่คุณแม่ต้องรู้ คือควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะหากเราให้ยาลดน้ำมูก กับลูกมากเกินหรือถี่เกินไป  ผลจากการลดน้ำมูกโล่งสบายจะกลับไปเป็นตรงกันข้าม คือตัวยาจะกลับไปทำให้เสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจ แห้งมากเกินไป ทำให้เหนียวข้นมากขึ้นแย่ลงไปอีก

อ่านต่อ >> การใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กเล็ก กับผลข้างเคียงที่พ่อแม่ต้องรู้!” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up