ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ! แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง - amarinbabyandkids
ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ! แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง

event
ยาลดน้ำมูก
ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก

ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่

สำหรับ ยาลดน้ำมูก แก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่ๆ (second generation) จะออกฤทธิ์ได้นาน ทำให้ใช้ยาเพียงวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ทำให้สะดวกสบายในการใช้ยา และไม่ส่งผลกระทบกับใช้ชีวิตวัยเด็กอย่างสนุกสนาน

ซึ่งเจ้าตัวนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนโดยไม่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก ทำให้คุณแม่สามารถใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากภูมิแพ้ของลูกได้ดี และพบว่ามีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มดั้งเดิม อันได้แก่ อาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง

รวมทั้งยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยกว่า จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงง่วงซึมได้น้อยกว่าอีกด้วยอย่างไรก็ตามจากการที่ผลของยาต่อการลดน้ำมูกในโรคหวัดสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิกของยา ดังนั้นขณะที่ยาต้านฮิสตามีนรุ่นเก่าสามารถลดน้ำมูกในโรคหวัดลงได้ร้อยละ 25-30 แต่ยาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่นี้ไม่มีผลต่อการบรรเทาอาการของโรคหวัด นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : oknation.nationtv.tv

 

ส่วนยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)

ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการคัดจมูก จึงทำให้โล่งจมูก และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ขยายหลอดลมด้วย จึงทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น ยากลุ่มนี้ที่มีใช้กันมี 2 ชนิด คือ  ชนิดกิน และชนิดทาภายนอกโดยการเช็ดจมูก

ยาลดการคั่งของน้ำมูกชนิดกิน เช่น phenylephrine, pseudoephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้โล่งจมูก หายใจได้สะดวก แต่ในเด็กบางคนที่ไวต่อยากลุ่มนี้ อาจมีอาการข้างเคียงทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ร้องกวน โยเยได้

ยาลดการคั่งของน้ำมูกอีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดทาภายนอก เช่น ephedrine เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดี ทำให้ลูกโล่งจมูก หายใจได้สะดวก ถ้าใช้อย่างถูกวิธีและไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดอาการกลับมาคัดจมูกได้ (rebound congestion) อันเนื่องจากอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานานเกินไป

ยาลดน้ำมูก

สรุปการให้ ยาลดน้ำมูก ในเด็กเล็ก

***ในการเลือกซื้อ ยาลดน้ำมูก ให้กับลูกน้อย เป็นเรื่องการรักษาเฉพาะบุคคล คุณแม่ควรบอกอาการของลูกน้อยกับคุณหมอ หรือเภสัชกรที่ร้านขายยาด้วยทุกครั้งก่อนซื้อยา เพื่อให้สามารถจ่ายยาได้อย่างถูกต้อง ตรงกับอาการของลูกน้อยอย่างแท้จริง… และที่สำคัญคุณแม่ไม่ควรซื้อยาจำพวกนี้ให้ลูกน้อยทานโดยไม่ปรึกษาเภสัชกรก่อน เพราะลูกน้อยอาจเป็นอันตรายได้***

สำหรับยาแก้แพ้ลดน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่จะเลือกใช้ยาตัวไหนนั้น ให้ดูว่าลูกเราเป็นภูมิแพ้ด้วยหรือไม่ ถ้าลูกเป็นภูมิแพ้ด้วย แนะนำให้กินยากลุ่มที่ 2 หรือยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง แต่ถ้าไม่เป็น หรือเป็นแค่หวัดธรรมดา แนะนำเลือกยากลุ่มแรก หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก

อนึ่งในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้ยาในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ที่เกิดจากกลุ่มโรคไข้หวัด เนื่องจากข้อควรระวังเรื่องผลข้างเคียงของยาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่แนะนำให้แก้ไขปัญหาอาการหวัดได้ด้วยการดูแลรักษาเบื้องต้น

***แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอเน้นกับคุณพ่อคุณแม่ว่า การให้ลูกกินยาลดน้ำมูก เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เนื่องจากยาเหล่านี้ จัดเป็นยาอันตราย คุณแม่ต้องปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง หากให้ยาลูกน้อยมากเกินหรือถี่เกินไป  ผลจากการลดน้ำมูกโล่งสบายจะกลับไปเป็นตรงกันข้าม คือตัวยาจะกลับไปทำให้เสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจ แห้งมากเกินไป ทำให้เหนียวข้นมากขึ้นแย่ลงไปอีก

ซึ่งหากคุณแม่ต้องการ ลดหรือการระบายน้ำมูกให้ลูกน้อย สิ่งที่คุณหมอทุกท่านแนะนำเบื้องต้น คือ ให้เริ่มจากล้างจมูกดูก่อน ถ้าไม่ดีขึ้น ค่อยเลือกกินยาตามอาการ หรือพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยดูอาการที่แท้จริงและรับ ยาลดน้ำมูก ไปรับประทาน

และอีกวิธีหนึ่งในการรักษา เมื่อลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก คือ ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ กินอาหารตามปกติ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้กับโรคเหล่านี้ ส่วนในเด็กที่มีเคยมีประวัติโรคหืด หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ ควรระวังให้มากขึ้นเมื่อเป็นหวัดเพราะอาจทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกหรือทำให้โรคลุกลามรุนแรงมากขึ้น และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับเรื่อง ยาลดน้ำมูก หรือการดูแลโรคหวัดในเด็กควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร (ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพทุกด้านก่อนด้วยนะคะ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.doctor.or.thhaamor.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up