แนะ 6 ข้อควรระวังในการใส่หางนางเงือก-ครีบฉลาม
กรมควบคุมโรค ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใส่หางนางเงือก-ครีบฉลาม และการช่วยเหลือเด็กตกน้ำ ดังนี้
- ดูแลเด็กขณะที่อยู่รอบ ๆ แหล่งน้ำอย่างใกล้ชิด
- หางนางเงือกเหมาะสำหรับนักว่ายน้ำที่มีประสบการณ์เท่านั้น
- ในการฝึกใช้หางนางเงือกและครีบฉลาม ควรฝึกในน้ำตื้นและควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา
- ควรใส่หางนางเงือกและครีบฉลามในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม เช่น สระว่ายน้ำ
- ไม่ควรใช้หางนางเงือกว่ายน้ำในระยะไกล หรือแข่งกันว่ายน้ำ
- ผู้ที่ใส่หางนางเงือกต้องไม่มีภาวะการหายใจเร็วกว่าปกติ
และกรมควบคุมโรค ยังขอฝากถึงประชาชนหากพบเห็นคนตกน้ำไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ แต่ขอให้ช่วยด้วยการใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” ได้แก่
- ตะโกน คือการเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วยและโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669
- โยน อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้โดยโยนครั้งละหลาย ๆ ชิ้น
- ยื่น อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
การดูแลเด็ก เพียงแค่คลาดสายตาไปเพียงแป๊ปเดียว ก็อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อลูกกำลังเล่นน้ำอยู่ อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นมักจะร้ายแรงกว่าตอนที่ไม่ได้อยู่ในน้ำ ดังนั้น อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในช่วงที่อยู่ในน้ำ ควรเน้นที่ความปลอดภัยเป็นหลัก ควรเลือกอุปกรณ์ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้ลูกจมลงไปได้ ไม่เช่นนั้น ช่วงเวลาเพียงเสี้ยววินาทีที่คลาดสายตาไป ก็อาจเป็นช่วงที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่สูญเสียลูกไปได้
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ใช้ขวดลอยตัวในน้ำ ช่วยลูกจากการจมน้ำ เทคนิคที่พ่อแม่ต้องรู้
ฉี่ใส่สระว่ายน้ำ อันตรายต่อสุขภาพ
จัดบ้านปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเสียชีวิต
อันตรายจากบันไดเลื่อน ที่อาจเกิดกับลูกน้อย !!
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่