ภาวะแทรกซ้อน เนื้องอกมดลูก
– อาจทำให้เลือดออกมากจนซีด (โลหิตจาง)
– ก้อนเนื้องอกอาจโตกดถูกท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือมีความรู้สึกเวลาปวดปัสสาวะ ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที หรือปัสสาวะไม่ออก บางรายอาจมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อน บางรายอาจกดถูกท่อไต ทำให้เกิดภาวะท่อไตบวมและคั่งน้ำ (hydroureter) และภาวะกรวยไตบวมและคั่งน้ำ (hydrohephrosis)
– ถ้ากดถูกลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนักก็ทำให้มีอาการท้องผูก ริดสีดวงทวารกำเริบได้
– ถ้ากดถูกท่อรังไข่ก็อาจทำให้มีบุตรยาก
– ขณะตั้งครรภ์ ก้อนเนื้องอกอาจโตขึ้นรวดเร็วจนทำให้แท้งบุตร หรือคลอดลำบาก
– บางรายก้อนเนื้องอกอาจโตยื่นออกนอกมดลูก โดยมีก้านเชื่อมกับมดลูก บางครั้งอาจเกิดการบิดของขั้วเนื้องอก ทำให้เกิดอาการปวดท้องฉับพลันรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
-ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก็อาจมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ มีเลือดออกมากผิดปกติระหว่างรอบเดือน หรือมีอาการปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์
แนวทางในการป้องกันโรคเนื้องอกมดลูก
- คุมกำเนิด
ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูก หากต้องการคุมกำเนิด อาจเลือกการใส่ห่วงหรือใช้ถุงยางอนามัยหรือการใช้ยาฉีด ยาฝัง ที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) แทนการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เนื่องจาก โรคนี้พบได้สูงขึ้นในคนมีน้ำหนักตัวเกิน
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
เพราะไขมันจะเป็นแหล่งในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นถ้ามีปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มพูนมากขึ้น ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะมากขึ้นด้วย
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค
4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจะช่วยในการปรับสมดุลของฮอร์โมนได้
- ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน
เช่น แยม (Jam) หรือเจลลี (Jelly) บางชนิด ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง หรือสมุนไพรบางชนิด เช่น โสมบางชนิด
- ลดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โดยเฉพาะเบียร์ เนื่องจากพบว่า เพิ่มอัตราการเป็นเนื้องอกมดลูก
จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคุณแม่ห่างไกลจากเนื้องอกมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ตรวจพบเนื้องอกมดลูก ก็อย่าเพิ่งเป็นกังวลมากเกินไปนะคะ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้ว เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่เป็นมะเร็ง เพียงแต่ติดตามอาการ หรือรับการรักษาตามที่แพทย์แนะนำค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- เนื้องอกกับการตั้งครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 17-21
- สัญญาณเตือนโรค “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรรู้!
- มะเร็งเต้านมคร่าชีวิต!! รู้ก่อน หายก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์, นิตยสารหมอชาวบ้าน, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ภาพประกอบ : drkomgrit.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่