การติดคาร์ซีท สำคัญ แม่นานาเตือน หลังลูกรอดจากถูกรถชน amarinbabyandkids

การติดคาร์ซีท ในรถให้ลูกนั่ง สำคัญมาก ‘แม่นานา’ฝากเตือน หลังเล่าเหตุการณ์รถบรรทุกชนท้ายรถที่ลูกนั่งอยู่

event

วิธีการติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้องของแต่ละไซส์

ทั้งนี้การเลือกคาร์ซีท ก็ควรจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูงของลูกน้อยด้วย รวมถึงต้องติดตั้งอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก และคุณพ่อ คุณแม่สามารถศึกษาได้จากคลิปวิดีโอนี้

ติดตั้งคาร์ซีทให้เบบี๋อย่างถูกต้อง

ติดตั้งคาร์ซีทให้เบบี๋อย่างถูกต้อง

 

วิธีติดตั้งคาร์ซีทคุณหนูวัยซน

วิธีติดตั้งคาร์ซีท ให้ปลอดภัย

♥ เคล็ดลับฝึกให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีท

คาร์ซีทสำหรับเด็ก มีหน้าที่เช่นเดียวกับเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ ซึ่งในต่างประเทศ มีกฎข้อบังคับให้ใช้คาร์ซีทอย่างชัดเจน การหัดให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีทนั้น ต้องทำตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อ คุณแม่ต้องมีความอดทน เพราะลูกน้อยอาจจะร้องไห้ งอแงมากๆ ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าไม่นั่งคาร์ซีทอาจเกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตได้

เพราะโดยปกติแล้ว เด็กจะร้องไห้ต่อเนื่องนาน 90 นาที แต่ผู้ใหญ่มักจะทนได้แค่ 5 นาที จึงต้องหาตัวช่วยที่เป็นของเล่น หรือของที่จะมาหลอกล่อ หรือนั่งข้างๆ เป็นเพื่อนลูกน้อย เพื่อให้เขายอมนั่ง อาจจะใช้วิธีร้องเพลง พูดคุย หรือสิ่งที่ลูกน้อยชอบแล้วแต่เทคนิคของแต่ละครอบครัว

ควรงดลูกนั่งตัก หรือห้ามให้ลูกวิ่งเล่นในรถ เมื่อฝึกปฏิบัติจนเคยชินแล้ว ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าคาร์ซีทคือที่นั่งของตัวเอง และต้องรัดเข็มขัดให้ปลอดภัยทุกครั้ง เมื่อเกิดความเคยชิน ถ้าวันไหนขึ้นรถแล้ว ไม่มีคาร์ซีทอยู่ ลูกน้อยก็จะถามถึงทันที ทั้งนี้ หากจะนำลูกออกมาจากคาร์ซีท  ต้องจอดรถก่อนทุกครั้ง ใกล้ไกลเพียงใด

ควรเลิกใช้ คาร์ซีท เมื่อไหร่ ?

  • ในการเลิกใช้คาร์ซีทคุณพ่อและคุณแม่ควรที่จะพิจารณาตามข้อบังคับดังต่อไปนี้
  • เมื่อลูกของเรามีความสูงพอที่จะนั่งห้อยขาแล้วยาวถึงพื้นพอดี หรือโตพอที่จะนั่งตั้งตัวตรงได้แล้วเพราะจะสามารถที่จะทรงตัวได้เองในรถ
  • เข็มขัดนิรภัยสามารถที่จะรัดตรงส่วนกระดูกเชิงกรานของได้พอดี จะต้องไม่รัดอยู่ที่ช่วงหน้าท้อง ขณะเดียวกันหากต้องขาดเข็มขัดนิรภัยส่วนบ่าจะต้องพาดตรงส่วนหน้าอก ไม่ผ่านบริเวณตรงแขนหรือบริเวณคอของลูก
  • เมื่อลูกอายุ 8 ขวบหรือมีความสูงเกิน 150 เซนติเมตรขึ้นไป และสามารถรัดเข็มขัดได้อย่างถูกต้องแล้ว

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


บทความโดย: พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up