อุทาหรณ์ พี่เลี้ยงเขย่าเด็กจนเลือดคั่งในสมอง - amarinbabyandkids
อุทาหรณ์ พี่เลี้ยงเขย่าเด็กจนเลือดคั่งในสมอง

อุทาหรณ์ พี่เลี้ยงเขย่าเด็กจนเลือดคั่งในสมอง

Alternative Textaccount_circle
event
อุทาหรณ์ พี่เลี้ยงเขย่าเด็กจนเลือดคั่งในสมอง
อุทาหรณ์ พี่เลี้ยงเขย่าเด็กจนเลือดคั่งในสมอง

เขย่าลูกทารก อันตรายร้ายแรง!!

กะโหลกและสมองของทารก ยังอ่อนนุ่มหากเกิดการกระทบกระเทือนและบอบช้ำอย่างรุนแรง สามารถนำไปสู่การเป็นอัมพาตและอาจเสียชีวิตได้สูงมาก เนื่องจากเขย่าหรือสั่นทารก ถือเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงต่อพัฒนาการ และชีวิตของลูก การเขย่าลูกจะเรียกการกระทำนี้ว่า Shaken Baby Syndrome (SBS) สำหรับอาการที่ควรระวังหลังจากที่มีการสั่นหรือเขย่าทารก นั่นคือ…

  • อาการเฉื่อยชา ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
  • อาการโมโห กระจองอแงมากเกินปกติ
  • มีรอยช้ำบนแขนหรือหน้าอก หน้าซีด
  • ลูกไม่ร่างเริง หรือเปล่งเสียงตามธรรมชาติ
  • ดูดและกลืนน้ำนมไม่ได้
  • มีอาการตัวแข็ง ขยับตัวไม่ได้
  • ลูกหายใจติดขัด
  • จู่ๆ ก็มีอาการลมชัก
  • ศีรษะหรือหน้าผากบวม หรือมีปุ่มเนื้อบูดออกมาจากศีรษะ
  • ลูกยกศีรษะไม่ได้
  • ลูกไม่สามารถจดจ่อหรือจ้องมองสิ่งของที่เคลื่อนไหวผ่านตาได้[1]

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Tomyam chanel

บทความแนะนำ คลิก >> อุ้มโยน เขย่า ดึงแขน อันตรายกับลูกมากกว่าที่คิด

จากคลิปนี้ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กเล็ก ได้อธิบายถึงความอันตรายจากการอุ้มลูกเขย่าสามารถทำให้เส้นใยในเนื้อสมองของลูกฉีกขาดได้ รวมทั้งเส้นใยประสาทตาที่อาจมีการเสียหายทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวได้ เห็นถึงผลเสียขนาดนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่มีลูกเล็ก หากเกิดความเครียดจากการเลี้ยงลูก ควรให้ญาติพี่น้อง มาช่วยสลับเปลี่ยนช่วยเลี้ยงลูกบ้างในบางครั้ง เพื่อช่วยลดความเหนื่อยและเครียดลง เพราะหากปล่อยให้ความเหนื่อยจากการเลี้ยงลูกสะสมมากๆ อาจเกิดอารมณ์โมโหเวลาลูกร้องไห้งอแง แล้วเผลออุ้มลูกขึ้นมาเขย่าปลอบให้หยุดร้องไห้ แน่นอนผลจากการอุ้มลูกเขย่าร้ายแรงอย่างไม่คาดคิดเลยค่ะ

อ่านต่อ 6 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องอุ้มลูก คลิกหน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up