ลูก ติดมือถือ เวลากินข้าว หักดิบด้วยวิธีนี้ได้ผล!! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ติดมือถือ ลูกติดมือถือ ติดจอ

ลูก ติดมือถือ เวลากินข้าว หักดิบด้วยวิธีนี้ได้ผล!!

Alternative Textaccount_circle
event
ติดมือถือ ลูกติดมือถือ ติดจอ
ติดมือถือ ลูกติดมือถือ ติดจอ

8 เคล็ดลับเพื่อเอาชนะการติดมือถือ

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปใช้กับกิจวัตรประจำวันของคุณหรือลูกๆ ของคุณได้อย่างง่ายดาย เป็นการปรับพฤติกรรมก่อนจะสาย เมื่อการติดมือถือยังไม่ได้พัฒนาจนกลายเป็นโรค หรือเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมจนเกินไปนัก เริ่มวันนี้เพื่อการสร้างอนาคตที่ดีกว่าของลูก และตัวคุณ

1.ปิดการแจ้งเตือน

เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่ายๆ เมื่อคุณมีการแจ้งเตือนน้อยลงในโทรศัพท์ คุณก็ไม่อยากตรวจสอบมันน้อยลง การปิดการแจ้งเตือนเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดวิธีหนึ่งในการเลิกเสพติดโทรศัพท์

2.เปิดโหมดสีเทา

เหตุผลหนึ่งที่โทรศัพท์ของคุณดูน่าดึงดูดคือสีและธีมที่แสดง การเปิดใช้โทนสีเทา การถ่ายรูปหรือโพสต์รูปและกิจกรรมเสพติดอื่นๆ อาจดูไม่น่าดึงดูดใจอีกต่อไป

3.แทนที่ดีกว่าเลิก

การหางานอดิเรกทำ แทนที่การเลิกมือถือ จะช่วยให้เราเลิกเสพติดมือถือได้ง่ายกว่าการสั่งตัวเองให้ไม่สนใจโทรศัพท์ ลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ควรหากิจกรรมอื่น ๆ มาเล่นกับลูกเพื่อไม่ให้เขาต้องการเล่นมือถือ ในระยะแรกของการชักชวนอาจยากเสียหน่อย แต่พ่อแม่ต้องแน่วแน่ และพยายามเพื่อให้ลูกรู้สึกว่ามีอย่างอื่นที่สนุกไม่แพ้กับการเล่นมือถือเช่นกัน

4.ไม่วางมือถือไว้ใกล้ตัวเวลานอน

ถ้าคุณนอนกับมัน คุณจะตื่นพร้อมกับมัน การทิ้งโทรศัพท์ไว้ให้ไกลมือเมื่อคุณเข้านอน เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการติดโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพให้กับการนอนหลับของคุณ กฎนี้ใช้กับลูกเช่นกัน

หากิจกรรมอื่นให้ลูกทำ
หากิจกรรมอื่นให้ลูกทำ

5.ตั้งค่าการใช้ กำหนดเวลา

การติดตามเวลาหน้าจอของคุณเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการไม่ติดโทรศัพท์ของคุณ คุณสามารถใช้แอพที่จะช่วยให้คุณติดตามเวลาว่าเราใช้เวลาไปเท่าไหร่กับการเล่นมือถือ จะทำให้เราตระหนักว่าเราใช้เวลาไปกับการเล่นมือถือมากน้อยแค่ไหน และทำการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม ชัดเจน เช่น กำหนดเวลาการเล่นในวันธรรมดาที่ 1 ชั่วโมง และวันเสาร์อาทิตย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง (ช่วงเวลาใดก็ได้) แต่ต้องเล่นภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น

6.ใช้ประโยชน์จากมือถือ ไม่ใช่เสพติด

เทคโนโลยี แอพ และเครื่องมือทันสมัยต่าง ๆ ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น หากเราใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เราจะได้ประโยชน์จากมัน เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปีแพทย์ยังไม่แนะนำให้เล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเลตทุกชนิด เด็กอายุ 3-6 ปี ควรเล่นเกมหรือดูรายการที่เน้นส่งเสริมพัฒนาการและการศึกษา ส่วนเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ควรเลือกเกมที่ไม่มีความรุนแรงมาก เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กก้าวร้าวและชินชากับเรื่องรุนแรง เพราะเป็นสิ่งที่เด็กเห็นและทำอยู่ในเกมทุกวัน วันละหลายๆ รอบ ส่งผลให้กลายเป็นคนมีพฤติกรรมรุนแรงได้ในอนาคต

7.ไม่ควรสั่งห้ามแบบทันทีทันใด พร้อมเฝ้าสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด

สภาวะสังคม การแข่งขันสูงในปัจจุบัน ทำให้เกิดความเครียด แรงกดดัน บวกกับกลุ่มเพื่อนที่เล่นเกมอยู่เดิมแล้ว ทำให้เด็กหันไประบายออกทางเกมได้ง่ายขึ้น การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ การหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เขารู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง จะช่วยให้ลูกมีโลกที่เขาชอบหลายใบ จึงไม่ติดอยู่กับโลกเสมือนมากเกินไป สร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อให้เขาเดินออกมาเอง ไม่ใช่ใช้คำสั่ง คำขู่ คำว่ากล่าว ยิ่งจะเป็นการผลักให้ลูกหนีห่างออกไป

8.ไม่ใช้มือถือ เป็นพี่เลี้ยงลูก

เด็กโดยเฉพาะในวัยก่อน 3 ขวบ ไม่แนะนำอย่างยิ่งให้ดูหน้าจอ แม้ว่าการใช้ลูกดูมือถือขณะกินข้าว จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น แต่ผลร้ายที่ตอบกลับมาหาลูกนั้นใหญ่เกินกว่าที่เราจะยอมรับได้ เพราะภาพที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว การสื่อสารแบบทางเดียวของสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดปัญหาต่อเด็กมากมาย ดังจะกล่าวต่อไป

การรักษาอาการติดมือถือของลูกจำเป็นต้องดูแลกันในระยะยาว เพราะโอกาสที่ลูกจะกลับไปติดเกมซ้ำยังคงมีอยู่  ผู้ปกครองหรือพ่อแม่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก โดยไม่ลืมที่จะทำความเข้าใจซึ่งกันและกันตลอดเวลา เพื่อลดโอกาสการกลับไปติดมือถือหรือติดเกมในอนาคต หากรู้สึกว่าการแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะแน่ใจว่าลูกไม่มีพฤติกรรมติดเกมแล้ว

ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย อาการเบื้องต้นของการ ติดมือถือ
ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย อาการเบื้องต้นของการ ติดมือถือ

ผลกระทบของการติดมือถือ

สัญญาณทางกายภาย

ปัญหาในการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ติดมือถือ หรือเด็ก จะทำให้เกิดปัญหาในการทำงานให้ลุล่วง ความรับผิดชอบขาดหาย คุณเคยพลาดทำงานส่งไม่ทันวันครบกำหนดของโครงการสำหรับการทำงาน หรือไม่ได้ทำการบ้านส่งครู ในขณะที่คุณเช็กข้อความเข้าในโซเซียลและฟีดของคุณเป็นประจำไม่เคยขาดหรือไม่?

แยกจากครอบครัวและเพื่อน

คุณสามารถถามตัวเองว่า “ฉันติดโทรศัพท์หรือเปล่า” หากคุณรู้สึกใช้เวลากับมือถือมากกว่าติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว และหยิบโทรศัพท์มาไถในขณะที่คุณกำลังสนทนาแบบเห็นหน้ากัน

รู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวล หรือตื่นตระหนกหากคุณทิ้งสมาร์ทโฟนไว้ที่บ้าน

คุณรู้สึกขาดเมื่อไม่สามารถเข้าถึงโทรศัพท์ของคุณ? หากคำตอบคือใช่ คุณอาจต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการติดสมาร์ทโฟน

สัญญาณจิต

อาการทางจิตและผลกระทบของการเสพติดนี้มีอยู่หลายประการ ได้แก่

ภาวะซึมเศร้า

แม้ว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะมีไว้เพื่อให้ผู้คนเข้าสังคม แต่ผู้ใช้อาจรู้สึกเหงาเมื่อไม่สามารถได้รับความสนใจจากสื่อสังคมออนไลน์ได้ตามต้องการ หรือรู้สึกแย่เมื่อเห็นว่าผู้คนกดไลค์น้อยลง เพราะเพื่อในโซเซียล 1,000 คน แต่ไม่ทำให้เรารู้สึกดีได้เท่าเพื่อนที่คุยกับเราจริง ๆ เพียงแค่ 1 คน

ความเครียด ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น

การเสพติดโทรศัพท์มือถือยังทำให้เกิดความเครียดอย่างมาก เนื่องจากความต้องการที่จะตอบสนองต่อทุกข้อความ การแจ้งเตือน และไม่มีวันจบ

หยุดพฤติกรรม ติดมือถือ ก่อนสาย
หยุดพฤติกรรม ติดมือถือ ก่อนสาย

โรคสมาธิสั้น

กระแสข้อมูลที่มีมากมาย ประเด็นเกิดใหม่ทุกนาที ของโลกโซเซียล มันทำให้สมองของคุณยุ่งเหยิง ทำให้คุณไม่สามารถโฟกัสกับงานอื่นได้ กี่ครั้งแล้วที่คุณถูกขัดจังหวะด้วยการแจ้งเตือนในระหว่างการประชุมหรือระหว่างทำการบ้าน? ทำให้ขาดสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ เพราะเราแทบไม่มีเวลานั่งคิดทบทวนเกี่ยวกับตนเอง ไม่มีเวลาสร้างสรรค์ความคิด มีข้อมูล เรื่องราวของผู้คนมากมายให้เราได้ติดตาม

รบกวนการนอนหลับ

สถิติการติดโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่า45% ของคนเช็คโทรศัพท์กลางดึก การนอนผิดเวลาจะส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของคุณ

โรคหลงตัวเอง

การโพสต์รูปเซลฟี่ไม่รู้จบ และโปรโมตชีวิตของคุณบนโซเชียลมีเดียสามารถนำไปสู่บุคลิกภาพแตกแยก หลงตัวเอง และความผิดปกติทางบุคลิกภาพอื่นๆ อีกมากมาย

เมื่อคุณตรวจสอบสัญญาณและพบว่าคุณหรือลูกของคุณมีอาการเสพติดแล้ว ก็ถึงเวลาเรียนรู้วิธีที่จะไม่ติดมือถือ ไม่เพียงแต่ลูกเท่านั้น พ่อแม่อย่างไรก็มีโอกาสเช่นกัน ดังนั้น ควรเริ่มใส่ใจ และปรับพฤติกรรมของทุกคนไปพร้อมกัน ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ อย่าให้มันหันกลับมาทำร้ายให้เกิดโทษแก่เราได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.mentalup.co/https://www.rama.mahidol.ac.th/https://www.phyathai.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกเดินช้า ลูกพูดช้าไปหรือเปล่า? ลองเทคนิคนี้ช่วยได้!!

ลูกติดมือถือ ติดจอ แก้ไขอย่างไร ?

ติดจอ เล่นสมาร์ทโฟนหนัก เสี่ยงภัยทางสายตา

Tablet มือถือ คอมพิวเตอร์ อันตรายเสี่ยงลูกป่วยทางสายตา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up