อัตราการเต้นหัวใจในเด็ก เต้นแบบนี้เรียกปกติ! - amarinbabyandkids
อัตราการเต้นหัวใจในเด็ก

อัตราการเต้นหัวใจในเด็ก เต้นแบบนี้เรียกปกติ!

Alternative Textaccount_circle
event
อัตราการเต้นหัวใจในเด็ก
อัตราการเต้นหัวใจในเด็ก

 

 ลูกน้อยฟันผุ

โรคหัวใจในเด็ก

บุคคลทั่วไปอาจยังไม่ทราบว่าเด็ก ๆ ก็เป็นโรคหัวใจได้ ทั้งนี้ โดยเด็กมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายอาจเสียชีวิตก่อนเกิดก็มี บางรายเริ่มมีอาการ หรือตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจตรวจพบเมื่อออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด หรือมีอาการหลังอายุ 1-2 เดือนไปแล้ว เรียกได้ว่าเด็ก ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้นะคะไม่ใช่แต่ผู้ใหญ่เท่านั้น

อาการโรคหัวใจในเด็กที่พบได้มีอะไรบ้าง

  • อาการเขียว สังเกตได้ที่บริเวณริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าว่ามีสีม่วงคล้ำหรือไม่ เนื่องจากสาเหตุของอาการดังกล่าวนั้นเกิดจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติในหัวใจที่พิการมาแต่กำเนิดทำให้เลือดที่มีออกซิเจนต่ำไปเลี้ยงร่างกาย บางคนอาจมีเขียวมากขึ้นเวลาร้อง เวลาเล่นมาก ๆ หรือตื่นนอนตอนเช้า ถ้าเป็นมาก ๆ อาจพบว่ามีหายใจแรง ตัวอ่อน และไม่รู้สึกตัวได้
  • หายใจหอบหรือเหนื่อยง่าย ในทารกหรือเด็กเล็ก ๆ ที่เป็นโรคหัวใจอาจมีอาการเหนื่อยง่ายขณะดูดนมทำให้ต้องหยุดดูดเป็นช่วง ๆ บางรายมีเหงื่อออกมากร่วมด้วยขณะดูดนม หากลูกใช้เวลาดูดนมมื้อหนึ่งนานเกิน 30 นาที ควรสังเกตุว่าลูกมีความผิดปกติหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์
  • เจริญเติบโตช้า เด็กโรคหัวใจบางคนจะตัวเล็ก และส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นช้ากว่าเกณฑ์มาตรฐานเนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักจึงต้องใช้พลังงานสูงและพลังงานที่ได้รับจากอาหารมักจะไม่เพียงพอ
  • ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว ในเด็กปกติเราพบว่าจะมีหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้เมื่อออกกำลังกาย หรือมีไข้สูง แต่หากพบว่าเด็กมีหัวใจเต้นเร็วหรือใจสั่นในขณะพักควรสงสัยว่าอาจจะมีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติเกิดขึ้นในหัวใจ อาการเหล่านี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ ดังนั้นเมื่อเด็กมีอาการใจสั่นควรจับชีพจรหรือเอามือคลำหน้าอกเด็กเพื่อนับอัตราการเต้นของหัวใจต่อหนึ่งนาที ถ้าหัวใจเต้นเร็วกว่า 150 ในทารก 120 ในเด็กเล็ก หรือ 100 ในเด็กโตควรพาไปพบแพทย์ทันที
  • หน้ามืดเป็นลม สาเหตุของอาการหน้ามืดเป็นลมนั้นมีมากมายหลายอย่าง แต่ถ้าอาการเป็นลมนั้นเกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีใจสั่นร่วมด้วยหรือเกิดในขณะออกกำลังอาจจะมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจก็เป็นได้

เมื่อไรก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกสงสัย หรือไม่แน่ใจในอาการของลูกหลาน แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดก็ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้หากมาพบแพทย์สายเกินไปนะคะ

เครดิต: ภาควิชากุมารแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up