แม่แชร์ ลูกสมองติดเชื้อ ตับ-ม้ามโต เพราะ ป้อนยาเกินขนาด - amarinbabyandkids
ป้อนยาเกินขนาด

แม่แชร์! ลูกสมองติดเชื้อ ตับ-ม้ามโต เพราะป้อนยาเกินขนาด

Alternative Textaccount_circle
event
ป้อนยาเกินขนาด
ป้อนยาเกินขนาด

คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้แชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยของเธอ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณแม่ท่านอื่นๆ ระวังอย่า! ป้อนยาเกินขนาด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตลูก โดยคุณแม่เล่าว่า ลูกน้อยวัย 4 เดือนของเธอมีไข้ เธอจึงป้อนยาลดไข้สำหรับเด็กครั้งละ 1-1.5 ซีซี วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดกันประมาณ 4-5 วัน เพื่อให้ไข้ลด แต่หลังจากนั้น กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ดังนี้

“เราจะมาบอกว่า?ถ้าหากลูกไม่สบาย แล้วเราให้ยากินแล้ว ยานั่นคือยาสำหรับเด็กหรือยาอะไรก็ตามแต่ 
เนื่องจากลูกเราไม่สบาย เราก็ให้ยาลูกครั้งล่ะ 1-1.5ซีซี ก็เราอยากให้ลูกหายจากไข้ เราให้วันล่ะ 2 รอบ เช้าเย็น 
ตอนนั้นลูกเรา. 4 เดือน ด้วยความรักความเป็นห่วงของแม่อยากให้ลูกหาย และเราก็ให้ยามาประมาณ 4-5 วัน 
ติดกัน เช้าเย็น. จนลูกไม่มีไข้แล้ว พอ2-3วันมา แค่นั้นแหล่ะคะ วันที่ 14 ธค. 59 ลูกเราร้องเป็นชั่วโมงๆ
เอาใจเท่าไหร่ก็ไม่หยุด เราก็เลยพาไป รพ หมอก็ถามว่าเป็นไรมา เราก็คิดว่าท้องอืด หมอก็สวนก้นให้ ก็ไม่มีอึ 
หมอก็เอาไปเจาะเลือด หมอว่าตัวเหลือง เจาะแล้วก็ไม่มีผลอะไร จนเอาไปเอ็กซเรย์ หมอพบว่า ลูกเราเป็นโรคตับ 
ตับโต ม้ามโต เพราะเกิดจากการที่เราให้ยาลูกเกินขนาด ตอนนี้ก็มีเรื่อง น้ำตาลต่ำ ต่อมไทรอยด์อักเสบ 
และสมองติดเชื้อตามมาอีกเยอะแยะ #สงสารลูกตอนนี้ลูกเราก็ยังอยู่ รพ อยู่เลย เป็นเดือนกว่าแล้ว 
#ฝากถึงคุณแม่ทุกคนนะคะ ถ้าลูกไม่สบาย ให้ยา2-3วันไม่หาย หรือก็นำไปหาหมอนะคะ 
#ผิดกฎบอกนะคะจะได้ลบคะ ฝากแชร์ฝากไลต์ถึงคุณแม่ที่ไม่รู้ด้วยนะคะ”

 

ขอขอบคุณคุณแม่ ที่แบ่งปันเรื่องราวอุทาหรณ์เตือนใจคุณแม่ท่านอื่นๆ ในครั้งนี้ค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอให้น้องหายไวๆ กลับมาสุขภาพแข็งแรงในเร็ววันนะคะ

——————–

จากเหตุการณ์นี้ คุณแม่อาจไม่ทราบว่า ยาพาราเซตามอล มีหลายขนาดความเข้มข้นของตัวยา เช่น ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ มีทั้งแบบ 120 มก./5 ซีซี และแบบ 250 มก./5 ซีซี ซึ่งหากนำยาที่มีความเข้มข้น 250 มก. มาป้อนลูกในปริมาณเท่ากับที่ควรให้ในแบบ 120 มก. ลูกก็มีโอกาสได้รับยาเกินขนาดได้

ในกรณีที่ป้อนยาพาราเซตามอลชนิดดรอปสำหรับเด็กเล็ก ขนาด 80 มก./0.8 ซีซี นั้นมีปริมาณยาเข้มข้นกว่าแบบ 120 มก. 4-5 เท่า ดังนั้น หากป้อนยาชนิดดรอปให้ลูกในปริมาณเท่ากับที่ควรให้ในแบบ 120 มก. เท่ากับว่า ลูกจะได้รับยาเกินขนาด 4-5 เท่านั่นเองค่ะ

เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น เรามาทำความรู้จักประเภทของยาลดไข้สำหรับเด็กแต่ละวัย และวิธีคำนวณปริมาณยาลดไข้ที่ถูกต้องก่อนป้อนให้ลูก ซึ่งต้องคำนวณจากความเข้มข้นตัวยา และน้ำหนักของน้องร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการป้อนยาน้อยเกินไปจนไข้ไม่ลด และไม่ ป้อนยาเกินขนาด จนเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ด้วยวิธีเลือกยาลดไข้สำหรับเด็ก และวิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก ที่เรานำมาฝากค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ>> ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กแต่ละวัย ควรเลือกอย่างไร คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up