มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนวัยทำงานที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน รวมไปถึงผู้ที่ไม่มีครอบครัว กว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม 5% ของเงินเดือน เพื่อแลกกับการได้รับสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์
และแม้ว่าพรบ.ประกันสังคมฉบับใหม่ (ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558) จะเพิ่มสิทธิ์ในการรักษาโรคมากขึ้น ค่อนข้างจะครอบคลุมให้กับผู้ประกันตนแล้ว อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการรักษาพยาบาลซึ่งเรามีสิทธิใช้กองทุนประกันสังคมแล้วนั้น เรารู้หรือไม่ว่า มีโรคบ้างโรค หรือการใช้บริการทางการแพทย์ ทีกองทุนประกันสังคมไม่คุ้มครองซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิได้…ซึ่งโรคและบริการทางการแพทย์ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครองจะมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
ข้อควรรู้
- การบริการที่ท่านจะได้รับจากสถานพยาบาล
สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า
- การบริการจากสถานพยาบาลเครือข่าย
คือ การที่ผู้ประกันตนได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (กลุ่ม 14 โรคยกเว้น) ดังนี้
- โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
- การบำบัดทดแทนไตกรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น
– กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์
– กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วย น้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดในประกาศสำนักงานประกันสังคม
- การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก
อ่านต่อ >> “โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์จากประกันสังคม” ข้อที่ 7-14 คลิกหน้า 2