เช็ก 6 อาการ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด -Amarin Baby & Kids
โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

เช็ก 6 อาการ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

Alternative Textaccount_circle
event
โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด
โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

เช็ก 6 อาการ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

“โอ๊ย ปวดหลังจัง” เชื่อแน่ว่าคุณพ่อหรือคุณแม่ที่นั่งทำงานนาน ๆ ต้องเคยรู้สึกแบบนี้ หากเป็นไม่บ่อยก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นเรื้อรังมานาน ก็ไม่ควรมองข้ามอาการปวดหลังเรื้อรังไม่หายสักทีนี้นะคะ เพราะคุณพ่อคุณแม่ อาจเป็น โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เสี่ยงพิการได้เลยค่ะ

ข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing Spondylitis – AS หรือ Spondyloarthritis – SpA) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของกระดูกสันหลังเรื้อรัง ร่วมกับข้ออักเสบ และอาการนอกระบบข้อร่วมด้วย เมื่อกระดูกสันหลังอักเสบเป็นเวลานาน จะเกิดหินปูนจับ ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกันจนเคลื่อนไหวไม่ได้

ในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ร่วมด้วย ทำให้ข้อติดแข็ง เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น  

นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง มองเห็นไม่ชัด โรคผิวหนังสะเก็ดเงิน อาการปวดส้นเท้า ฯลฯ

โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด
6 อาการ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

6 อาการ สัญญาณเตือน โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด

เป็นโรคหลักในกลุ่มโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการแสดงของโรคคล้ายกัน คือ

  1. ปวดหลัง หรือหลังติดขัดเรื้อรังนานเกิน 3 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีประวัติการได้รับอุบัติเหตุหลัง หรือกล้ามเนื้อหลังทำงานมากกว่าปกติ
  2. มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง ข้อต่อตามร่างกาย มักพบบริเวณส่วนล่าง เช่น สะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ฯลฯ
  3. การอักเสบที่กระดูกบริเวณที่เส้นเอ็นยึดเกาะ
  4. ปวดหลัง หรือหลังตึงขัดมากในช่วงกลางคืน ขณะหลับ และหลังตื่นนอนตอนเช้า
  5. ปวดหลัง หรือหลังตึงขัดหลังหยุดเคลื่อนไหวมานาน
  6. อาการอื่น ๆ นอกจากระบบข้อ เช่น เหนื่อยง่าย ตาแดง ปวดตา แผลที่ปาก ผื่นผิวหนัง เบื่ออาหาร ฯลฯ

ในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดสะโพกเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงเช้า หรือหลังพักผ่อน อาการหลังติดยึดทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ทำงานไม่ได้ จนเกิดภาวะหลังคด ทรงตัวลำบากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

การตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจวินิจฉัยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดสามารถทำได้โดย

  • ซักประวัติ โดยแพทย์จะถามรายละเอียดการปวด ระยะเวลา ความรุนแรง ประวัติทางการแพทย์
  • ตรวจร่างกาย ด้วยการก้ม หรือโน้มตัว เพื่อทดสอบการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง รวมถึงการกดส่วนต่าง ๆ และการขยับขาท่าต่าง ๆ เพื่อทดสอบระดับความเจ็บปวด
  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาการอักเสบ และตรวจหายีน HLA B27 ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค
  • การเอกซเรย์ (X – Ray) เพื่อดูตำแหน่ง การอักเสบ การเชื่อมติดกัน และการสึกหรอของกระดูกสันหลัง
  • การทำเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) ใช้คลื่นวิทยุ และสนามแม่เหล็กพลังงานสูง ถ่ายภาพกระดูก และเนื้อเยื่ออ่อนด้วยความคมชัดสูง เพื่อช่วยวินิจฉัย วางแผนรักษา และติดตามผลอย่างละเอียดและถูกต้อง

การรักษาข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด

ปัจจุบันโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาอาการ ลดการอักเสบ ป้องกันความรุนแรง และความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการรักษาประกอบไปด้วย

  • การรักษาด้วยยา ในกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาในกลุ่มต้านรูมาติสซั่มที่ควบคุมอาการของโรค รวมถึงยาอื่น ๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร โดยต้องระวังผลข้างเคียงของยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
  • การทำกายภาพบำบัด ช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม ได้แก่  การยืด การนวด การดึง การขยับข้อต่อ การบริหารร่างกาย การใช้ความร้อน และความเย็นบรรเทาปวด
  • การผ่าตัด จะใช้ต่อเมื่อข้อถูกทำลายมาก หรือข้อติดอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้ใช้งานข้อได้ไม่เต็มที่ การผ่าตัดจะช่วยให้กลับมาเคลื่อนไหว และใช้งานข้อได้ในชีวิตประจำวัน
  • การปรับพฤติกรรม ได้แก่ เลี่ยงการนอนหนุนหมอนสูง เลี่ยงท่าทำงานก้มตัวตลอดเวลา  เดินและนั่งในท่าตรง นอนบนพื้นราบให้หลังตรง เป็นต้น
  • การรักษาอื่น ๆ ในกรณีที่มีปัญหาในระบบอวัยวะอื่น ๆ เช่น ม่านตาอักเสบ จะต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลิ้นหัวใจรั่ว ต้องพบอายุรแพทย์หัวใจ เพื่อดูแลรักษาทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยรัฐ, โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

10 หมอนรองให้นม จัดท่าป้อนนมสบาย บ๊ายบายอาการปวดหลัง

ปวดหลังหลังคลอด สัญญาณร้าย “โรคโครงสร้างผิดปกติ”

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง ช่วยแม่ท้องลดอาการปวดหลังอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up