8 เรื่องเข้าใจผิด "โรคมะเร็งเต้านม" ผู้ชายก็เป็นได้ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
โรคมะเร็งเต้านม

8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้ชายก็เป็นได้

Alternative Textaccount_circle
event
โรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม

8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม”

3. ประจำเดือนมาเร็ว เสี่ยงมะเร็งมากกว่า

โดยเฉลี่ยที่เด็กผู้หญิงไทยจะเริ่มมีประจำเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 13 ปี แต่หากเด็กผู้หญิงคนไหนที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 13 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า แต่ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็วแต่หมดช้า ประมาณอายุ 55 ปี แต่ประจำเดือนยังไม่หมด กลับมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า แต่เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น และการที่ประจำเดือนหมดช้า ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงกับทุกคนเสมอไป

4. มีถุงน้ำ (ซีสต์) ในเต้านม = เป็นมะเร็งเต้านม

ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านมนั้น เกิดจากภายในเนื้อเต้านมมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนมากกว่าปกติ จนมีการสร้างน้ำและถุงน้ำขึ้นมาภายในเนื้อเต้านม ซึ่งถุงน้ำเหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับโรคมะเร็งเต้านมเลย


ขอบคุณคลิปจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

5. แมมโมแกรม เสี่ยงมะเร็ง?

ในปัจจุบันนี้เครื่องแมมโมแกรม เป็นแบบ Digital ซึ่งมีปริมาณรังสีอยู่น้อยมาก น้อยกว่าเครื่องเอ็กซเรย์ปอดด้วยซ้ำ ดังนั้น โอกาสที่รังสีในเครื่องแมมโมแกรมจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคมะเร็งนั้น เป็นไปได้น้อยมาก ๆ

6. ศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง

การเสริมหน้าอก มักจะใช้ซิลิโคน ในการเสริมขนาด และซิลิโคนเหล่านี้ ทาง FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองว่าปลอดภัย ดังนั้น การศัลยกรรมเสริมหน้าอก ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด เพียงแต่สิ่งที่ยุ่งยากสำหรับผู้หญิงที่ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกคือความยุ่งยากในการทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์นั่นเอง

7. โรคมะเร็งเต้านม ผู้ชายก็เป็นได้

ใครว่าโรคนี้เป็นได้แค่กับผู้หญิง มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก

8. เป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสรอดต่ำ

ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับระยะที่พบโรค หากตรวจพบในระยะที่ 1-2 ก็จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 93% – 100% เลยทีเดียว แต่หากตรวจพบในระยะท้าย ๆ แน่นอนว่าอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ก็จะน้อยลงไปอยู่ที่เพียง 22% – 72% เท่านั้น คุณหมอจึงแนะนำว่าควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้มากขึ้น

เมื่อทราบถึงความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว อย่าลืมไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกันนะคะ โดยผู้หญิงไทย (ทั้งต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ) อายุ 30-60 ปี สามารถเข้ารับการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และนอกจากการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลแล้ว ยังสามารถ ตรวจมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านมได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพ 68 แห่ง ได้ ฟรี ปีละ 1 ครั้งอีกด้วย  (อ่านต่อ หญิงไทยฟังทางนี้!! ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมฟรี!!)

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

4 วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง คลำหาง่าย ๆ ด้วยสองมือเรา (มีคลิป)

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก

10 อาหารก่อมะเร็ง ยิ่งกินมาก ยิ่งทำลายสุขภาพ

สุดยอด 5 แกงไทย! ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล, www.pobpad.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up